วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

ความเชื่อที่อันตรายของ VI



VI จำนวนไม่น้อยที่ผมได้พบเห็น โดยเฉพาะตามเว็บไซต์ต่างๆ มักมีศรัทธา หรือความเชื่อที่ยึดมั่นใน "แนวทาง VI" อย่างมั่นคง
จนผมรู้สึกว่า "มากเกินไป" ส่วนหนึ่งของความเชื่อนี้ อาจเป็นเพราะ "ความสำเร็จของ VI" ทั้งในระดับโลกอย่าง วอร์เร็น บัฟเฟตต์ และปีเตอร์ ลินช์ และ "เซียน VI ไทย" จำนวนมากในช่วงเร็วๆ นี้  ที่เสนอแนวทางแบบ VI อย่างกว้างขวางและภาคภูมิ จนทำให้แนวทางอื่นในเรื่องการลงทุนกลายเป็นเรื่องที่อาจไร้สาระ หรือตลกในสายตาของ VI ที่ติดตามศึกษาทฤษฎี VI อย่างเข้มข้น และมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมาก  
แน่นอน ความเชื่อเหล่านี้ เป็นสิ่งดีที่จะยึดเหนี่ยวจิตใจไม่ให้เราไขว้เขวไปจากแนวทางที่ถูกต้อง แต่ถ้ายึดมั่นเกินไป บางครั้งอาจเป็นอันตรายเหมือนกัน เพราะจะไม่ยืดหยุ่น และถ้าเกิดความผิดพลาด ความเสียหายจะมากกว่าปกติ ลองดูว่าความเชื่อ หรือศรัทธาเรื่องไหนที่ผมเห็นว่าเราต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
เรื่องแรกคือ เชื่อว่าเราสามารถคำนวณ Intrinsic Value หรือมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นได้แม่นยำ และผิดพลาดมากในระดับทศนิยม และถ้าราคาหุ้นต่ำกว่านั้นมาก ทำให้เรามี  Margin Of Safety (MOS) มากพอ เราก็จะซื้อหรือถือหุ้นไว้ไม่ว่าสถานการณ์ตลาดจะเป็นอย่างไร หลายคนพร้อม "ตีแตก" ถ้า  MOS  สูงลิ่ว
 

ประเด็นคือ มูลค่าที่แท้จริง ถ้าจะคำนวณจริงๆ ต้องมีสมมุติฐานสำคัญคือ ต้องรู้ว่ากำไรของบริษัทในอนาคตระยะยาวมากเป็นอย่างไร เงินสดหรือปันผลที่เราจะได้เท่าไร และจะโตอย่างไร นอกจากนั้น ต้องรู้ถึงต้นทุนของเงินทุนในตลาดด้วย ทั้งหมดนั้น ถ้าเปลี่ยนแปลงผิดจากที่คาดไว้ แม้เพียงเล็กน้อย มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปมากมาย  
 

หลายคนอาจใช้สูตรง่ายๆ แบบหยาบๆ เช่น ใช้ค่า PE ว่า กิจการควรมีค่า PE 15 เท่า ถ้ารู้ว่ากำไรปีนี้จะเป็นเท่าไร ก็หามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นได้ แต่นี่ไม่ใช่มูลค่าที่แท้จริงแน่ๆ ยกเว้นว่า กำไรของบริษัทปีต่อๆ ไปอีกยาวนาน ในอนาคตไม่ลดลง และค่า PE ยังเป็น 15 เท่า ไม่ใช่ 7 เท่า 

'กวี-เผดิมภพ' 'บัฟเฟตต์' สไตล์ กับ 'จอร์จ โซรอส' สไตล์



แม้ต่างแนวทาง..ต่างความคิด แต่เป้าหมายเดียวกันคือ 'สร้างความมั่งคั่ง' สองนักวิเคราะห์ดัง 'กวี ชูกิจเกษม' ควง 'เผดิมภพ สงเคราะห์' เปลือยสไตล์การลงทุนส่วนตัวอย่างหมดเปลือก..คนหนึ่ง 'วีไอ' จ๋า! อีกคน 'โมเมนตัม อินเวสเตอร์'
แนะนำการเล่นหุ้นให้คนอื่นมานับไม่ถ้วน กวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.กสิกรไทย และ เผดิมภพ สงเคราะห์ กรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการเงินทุนบุคคล บล.กสิกรไทย เจ้าตัวแทบไม่เคยเผยสไตล์การลงทุนส่วนตัวให้ใครรู้ คนหนึ่งมีไอดอลคือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ส่วนอีกคนยึด จอร์จ โซรอส เป็นแนวทางสร้างความร่ำรวย
ทั้งสองคนได้ชื่อว่าเป็นนักวิเคราะห์ดังระดับ "แม่เหล็ก" มีแฟนคลับติดตามคำแนะนำจำนวนมาก เบื้องหลังของ กวี และเผดิมภพ ต่างก็เป็นนักลงทุนคนหนึ่งในตลาดหุ้นที่มีสไตล์การลงทุนเป็นตัวของตัวเอง คนหนึ่ง "บู้" อีกคน "บุ๋น" น้อยคนนักที่จะรู้ตัวตนและเป้าหมายที่แท้จริงของเขาทั้งสอง
ผมตั้งใจว่าเมื่ออายุ 80-90 ปี จะต้องมีเงิน "แสนล้านบาท" ถ้าอยู่ไม่ถึงทายาทก็ต้องทำต่อให้ถึง!!กวี ชูกิจเกษม หรือที่เพื่อนๆ เรียกชื่อเล่นว่า วีเล่าเป้าหมายส่วนตัวให้ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟัง ณ ห้องค้าหุ้น บล.กสิกรไทย สำนักพหลโยธิน

"วี" นักวิเคราะห์ชื่อดัง เล่าว่า ตัวเองเป็น "แวลู อินเวสเตอร์" (วีไอ) มี วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นต้นแบบ ส่วนตัวชอบฟังเพลงป๊อปสบายๆ ใช้ชีวิตที่สมถะเรียบง่าย เพียงแต่การทำงานในสายงานนักกลยุทธ์ที่ บล.กสิกรไทย ทำให้ต้องติดตามข่าวสารตลอดเวลา

ส่วนตัวผมชอบลงทุนระยะยาว หุ้นบางตัวถือมา 5 ปี ไม่เคยขาย บางตัว 15 ปีแล้วก็ยังอยู่! พื้นฐานหุ้นเปลี่ยนถึงจะขายกวี เล่า

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

เล่นหุ้นตามกระแส



เมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้ว ช่วงที่ผมเรียนปริญญาเอกด้านการเงิน ที่เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น ทฤษฎีที่มาแรงที่สุดในขณะนั้น

คือ Efficient Market Hypothesis หรือทฤษฎี "ตลาดที่มีประสิทธิภาพ" ซึ่งบอกว่า ราคาหุ้นที่ซื้อขายอยู่ในตลาดทุกตัว เป็นราคาที่เหมาะสมอยู่แล้ว ไม่มีตัวไหนถูกหรือแพง หุ้นตัวไหนจะขึ้นหรือลงในวันพรุ่งนี้ หรือเดือนหน้าเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้
 
ในระยะยาวแล้ว หุ้นโดยเฉลี่ยจะโตไปตามตลาด ซึ่งอาจจะให้ผลตอบแทนรวมปีละ 10% โดยเฉลี่ย ดังนั้นการใช้ข้อมูลอะไรมาวิเคราะห์พิจารณาเลือกซื้อหุ้น จึงไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะการดูข้อมูลราคา และปริมาณการซื้อขายหุ้นอย่างที่นักวิเคราะห์ทางเทคนิคใช้ เช่น แนวรับ แนวต้าน ข้อมูลกราฟราคาหุ้นย้อนหลัง 90 วัน 270 วัน หรือเส้นกราฟที่เรียกว่า Head and Shoulder ซึ่งนักวิเคราะห์บอกว่า เป็นรูปแบบที่ราคาหุ้นจะวิ่งไปเป็น 3 ช่วงที่เหมือนกับหัวไหล่ข้างซ้าย ศีรษะ  และหัวไหล่ข้างขวา พูดง่ายๆ นักวิเคราะห์ทางเทคนิค เชื่อว่าราคาหุ้นในอดีต สามารถบอกถึงทิศทางราคาหุ้นในอนาคตได้

นักวิชาการที่เชื่อในทฤษฎีตลาดหุ้น ที่มีประสิทธิภาพในขณะนั้น ได้ทดลองใช้ข้อมูลราคาหุ้นย้อนหลังพิสูจน์ และพบว่าราคาหุ้น เคลื่อนไหวไปอย่าง
"ไร้ทิศทาง" ราคาหุ้นในวันนี้ ไม่ได้มีอะไรสัมพันธ์กับราคาหุ้นในวันก่อน เส้นกราฟราคาหุ้น ไม่มีรูปแบบ หรือแบบแผนที่แน่นอน แนวรับแนวต้านต่างๆ ไม่มีจริง ยิ่งรูปแบบที่เป็น "ไหล่ ศีรษะ ไหล่" เป็นเส้นที่เกิดจาก "จินตนาการ" เหมือนกับการดูก้อนเมฆ หรือถ้าเป็นคนไทย อาจเป็นเหมือนการหาตัวเลขจากขี้เถ้าของธูปที่ขดตัวไปมา
 
ว่าที่จริง  มีเรื่องเล่าว่าศาสตราจารย์คนหนึ่ง ลงทุนใช้คอมพิวเตอร์วาดกราฟราคาหุ้นแบบเดาสุ่มออกมา เสร็จแล้วก็หลอกให้นักศึกษาในชั้นเรียนด้านเทคนิควิเคราะห์ว่า "ราคาหุ้นจะไปทางไหน" ซึ่งนักศึกษาต่างใช้เทคนิคต่างๆ วิเคราะห์เป็นตุเป็นตะว่าหุ้นตัวนี้กำลัง "ฟอร์มตัว" อยู่ในช่วงไหนและจะไปอย่างไรทั้งๆ ที่เส้นกราฟนั้น เกิดขึ้นแบบเดาสุ่มจากคอมพิวเตอร์ และนั่นก็เป็นการ "ปิดฉาก" ของการวิเคราะห์แบบเทคนิคที่เคยเฟื่องฟูก่อนหน้านั้น
 

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

หุ้นขั้นเทพ



การวิเคราะห์หุ้น มีปัจจัยที่ต้องพิจารณามากมาย ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ จึงเป็นเรื่องยากสำหรับนักลงทุนบางคน ที่อาจจะมีความรู้เชิงธุรกิจไม่มาก
เพราะอาจไม่ได้เรียนมาทางสายธุรกิจ หรือเพิ่งเข้าสู่ตลาดหุ้นเป็นนักลงทุนมือใหม่ และคงเป็นเหตุผลว่า ทำไมข้อสรุปของหุ้นแต่ละตัว จึงไม่เหมือนกันระหว่างนักลงทุนแต่ละคน  
 

หุ้นตัวหนึ่งนักลงทุนคนหนึ่ง อาจดูว่าดีมากเป็นซูเปอร์สต็อก ในขณะที่อีกคนหนึ่งมองเป็นหุ้นธรรมดาๆ หรือหุ้นตัวหนึ่งนักเล่นหุ้นคนหนึ่งบอกว่า เป็น Growth Stock หรือหุ้นโตเร็ว ขณะที่อีกคนหนึ่งบอกว่า เป็นหุ้นวัฏจักรที่เพียงแต่อยู่ในช่วงขาขึ้น และพร้อมจะลงในอนาคต 

วิธีที่จะดูว่าหุ้น หรือบริษัทที่เราสนใจ น่าจะดีหรือไม่อย่างง่ายๆ คือ หาปัจจัยที่สำคัญมากๆ มาเป็นเครื่องชี้ที่จะบอกว่าเป็นหุ้นดีหรือหุ้นแย่ ตัวอย่างเช่น ถ้าการตลาด หรือยี่ห้อของสินค้าของบริษัทนั้น แข็งแกร่งสุดยอดเหนือกว่าคู่แข่งมาก โอกาสสูงว่าหุ้นของบริษัทน่าจะดี โดยอาจจะไม่ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นมากหรือละเอียดนัก เป็นต้น

เครื่องชี้วัดที่สำคัญและวิเคราะห์ได้ง่ายตัวหนึ่ง ที่ผมคิดว่าน่าสนใจ และนำมาใช้ได้ในหุ้นเกือบทุกตัว คือ ตัวเลขของผลประกอบการ หรือกำไรในอดีต เพราะนี่คือผลงานที่บริษัททำได้มาแล้ว เป็น "ของจริง" ที่เกิดขึ้น และบอกไปถึงอนาคตได้ โดยเฉพาะกำไรที่เกิดขึ้น ถ้าเกิดจากผลการทำงานของบริษัทจริงๆ ไม่ได้เกิดจากภาวะแวดล้อม ที่ทำให้บริษัทกำไรดี พูดง่ายๆ บริษัทไม่ได้กำไรดี เพราะ "โชคดี" แต่บริษัทกำไรดี เพราะบริษัทมีฝีมือดี มีความสามารถเหนือคู่แข่ง
 

ตำราเล่นหุ้น "เสี่ยปู่" "เก่งจริงต้องเห็นโอกาสซื้อ"



เป้าหมายการลงทุนของนักลงทุนต่างก็มีจุดหมายเดียวกันคือ "สร้างกำไร" แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำสำเร็จได้อย่างที่หวังตลอด เพราะระหว่างทางลงทุนมีทั้งกำไรและขาดทุนผสมกันไป บ้างก็สบจังหวะ "ซื้อถูก ขายแพง" บางครั้งก็ "ซื้อแพง ขายถูก" ก็มี แม้แต่นักลงทุนขาใหญ่อย่าง "สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล" เจ้าของฉายา "เสี่ยปู่" ที่มีพอร์ตใหญ่หลักพันล้านบาทขึ้นไปก็ผ่านเส้นทางนี้มาเช่นกัน กว่าจะก้าวมายืนแถวหน้า
ขาใหญ่รายหนึ่งในวันนี้ ที่นักลงทุนรายย่อยต่างจด ๆ จ้อง ๆ ว่าเสี่ยปู่เล่นหุ้นตัวไหนบ้าง เพราะราคามักจะพุ่งทันที เสี่ยปู่ได้เปิดห้องเทรดส่วนตัวที่ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ดังนี้
"คนที่ เก่งจริงต้องเห็นโอกาสซื้อก่อนคนอื่น เทคนิคแบบนี้ VI จะคิดเหมือนกันทุกคน โดยจะดูอย่างเดียวคือ แนวโน้มกำไรโตหรือไม่ ราคายังต่ำอยู่ไหม ถ้าใช่ก็ซื้อสะสมแล้วถือยาวไปเลย ซึ่งบางครั้งยอมรับว่า ผมก็ฟลุกเจอหุ้นดี แต่แบบไม่ฟลุกก็คือ ใช้วิธีเข้าไปดูงบการเงิน และคุยกับผู้บริหาร ถ้าพบหุ้นดีที่เจอปัจจัยลบระยะสั้นจนราคาปรับตัวลดลง ผมก็ยังเข้าซื้อต่อ เพราะหากจะลงทุนต้องเน้นมองไปที่อนาคต"
เขาเล่าว่า สไตล์เล่นหุ้นไม่ได้ต่างจากนักลงทุนวีไอ (นักลงทุนหุ้นคุณค่า) ที่มองระยะยาว ซึ่งจะมีทั้งการคัดกรองหุ้นก่อนซื้อ โดยกำหนดคุณสมบัติไว้ดังนี้คือ

คุณหมอ 'ร้อยล้าน' ศุภชัย ปาจริยานนท์ ผู้พิสมัย 'การลงทุน'




คุณหมอ 'ร้อยล้าน' ศุภชัย ปาจริยานนท์ ผู้พิสมัย 'การลงทุน'

วิธีสร้างความรวย 'หมอคิดส์' นพ.ศุภชัย ปาจริยานนท์ จากเงินเก็บ 'หลักแสน' สู่พอร์ตหุ้น, อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท
ในแวดวงดิจิทัลบริษัท MCFiva Thailand จำกัด บริษัท Digital Agency เล็กๆ แต่เป็นเจ้าของสิทธิบริหารสื่อโฆษณาในประเทศไทยให้กับ ทวิตเตอร์โซเชียลมีเดียที่กำลังมาแรงในขณะนี้ บริษัทแห่งนี้ก่อตั้งโดย นพ.ศุภชัย ปาจริยานนท์ หรือ หมอคิดส์ซึ่งมีดีกรีแพทย์ศาสตร์บัณฑิตจากศิริราช เขายังเป็นผู้คิดค้นระบบเทรดหุ้น Settrade ซึ่งขายสิทธิให้กับตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่สิบปีที่แล้ว จัดเป็นเด็กหนุ่มสติเฟื่องในวงการไอที

นอกจากบทบาทคุณหมอไอทีแล้ว เขายังสวมบทบาทเป็น นักลงทุนเต็มตัว มีดีกรีชนะเลิศรางวัลบริหารเงินส่วนบุคคล (Money Management Ambassador) ในโครงการ Money Management Award (MM Award) ที่จัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อปี 2546 แม้แนวทางการลงทุนของเขาจะนิยมเก็บตัวเงียบ ไม่เข้ากลุ่มก๊วนกับใคร แต่มูลค่าพอร์ตก็นับว่า "ไม่ธรรมดา"
จากการเปิดเผยผ่านรายการทีวีของพิธีกรฝีปากกล้าคนหนึ่ง ความมั่งคั่งของเขาน่าจะมีมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท ด้วยวัยยังไม่ถึง 30 ปี กรุงเทพธุรกิจ BizWeek จึงตามไปเจาะลึกวิธีการสร้างความมั่งคั่งของคุณหมอหนุ่มสติเฟื่องรายนี้ โดยนัดหมายกันที่สำนักงานบริษัท MCFiva ย่านใจกลางกรุง เพื่อพูดคุยเรื่องการลงทุนโดยเฉพาะ
ผมเรียนจบมาทางด้านไอทีสำหรับการแพทย์เป็นสาขาวิชาใหม่ในเมืองไทย ปัจจุบันนอกจากเป็นนักลงทุนแล้วยังทำธุรกิจส่วนตัวไปพร้อมๆ กัน ที่ว่าผมมีพอร์ต 100 ล้านบาท จริงๆ รวมกันทั้งพอร์ตหุ้น อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจส่วนตัวหมอคิดส์ เปิดประเด็น
ศุภชัย เล่าประวัติตัวเองให้ฟังว่าสมัยเด็กได้เงินไปโรงเรียนวันละ 5-10 บาท รู้สึกว่าไม่พอใช้ จะซื้อขนมก็ปาเข้าไปห่อละ 5 บาทแล้ว ไหนจะน้ำหวานอีก จึงเริ่มมาคุยกับคุณแม่ว่าจะทำอย่างไรให้มีเงินเยอะๆ แม่ก็บอกว่าให้ทำงานแล้วเอาไปฝากธนาคารหรือฝากสหกรณ์ ตอนนั้นยังเด็กมากรู้สึกตื่นเต้นว่า โอ้โห!! ใครช่างใจดีเพิ่มเงินให้เราฟรีๆ ทำให้สนใจเรื่องของดอกเบี้ยก่อนเป็นจุดเริ่มต้นของความสนใจเรื่องการเงิน