วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

3 เจ้าสัวแสนล้าน “มรรควิธี” สู่ ตระกูลมหาเศรษฐีโลก


 3 ตระกูลเจ้าสัวแสนล้าน มรรควิธีบริหารธุรกิจของพวกเขากลายเป็นกรณีศึกษาที่ทั่วโลกสนใจ ไม่ต่างจากหลายบริษัทข้ามชาติ ที่มาจากธุรกิจครอบครัว

ในช่วงที่ผ่านมา เราจะเห็นความเคลื่อนไหวคึกคักของ 3 ตระกูลมหาเศรษฐีเจียรวนนท์ - สิริวัฒนภักดี และอยู่วิทยา ผลัดกันเป็นข่าวดังอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับการแผ่อาณาจักรธุรกิจแสนล้านของพวกเขา เลยขอบเขตประเทศไทย สู่ตลาดในภูมิภาคเอเซียและโลก

เพราะรู้ว่าคู่แข่งทางการค้าจะมีมากขึ้นเท่าๆกับขนาดของโอกาสที่เพิ่มมากขึ้น หลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558 กลายเป็นความได้เปรียบสำหรับผู้ที่มีความพร้อมจะต่อกรกับยักษ์ข้ามชาติ อย่างน้อยก็ 3 ตระกูลนี้ ที่ถูกจัดเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกตามการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์ นิตยสารธุรกิจชั้นนำของโลก

เลือดนักสู้ บวกทุนที่พกไปเต็มกระเป๋า ขอสู้ยิบตา !

อย่างการปะทะกับ ไฮเนเก้นผู้ผลิตเบียร์อันดับ 3 ของโลก เพื่อช่วงชิงการเป็นผู้นำตลาดเบียร์ในเอเซีย ของตระกูลสิริวัฒนภักดี เป็นอาทิ
ทว่า ไม่เพียงความพร้อมทางการเงิน พวกเขายังต้องถึงพร้อมด้วย "ประสบการณ์" การต่อสู้ มรรควิธีในการรบอย่างไรให้ชนะ ของ 3 ตระกูลเจ้าสัวแสนล้าน ถูกรวบรวมไว้ในหนังสือ ตระกูลมหาเศรษฐีโลกที่เขียนโดย อาจารย์ธนวัฒน์ ทรัพย์ไพบูลย์ นักเขียนสารคดีแนววิเคราะห์เจาะลึก ชีวิต ผลงาน แนวความคิด กลยุทธ์ และวิสัยทัศน์ รวมทั้งปรัชญาการบริหารธุรกิจของนักธุรกิจชั้นนำ โดยเฉพาะตระกูลเจ้าสัว ซึ่งจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ขอเรียบเรียงบางช่วงบางตอนของหนังสือเล่มนี้ เพื่อถ่ายทอดกลเม็ดเคล็บลับในการสร้างฐานะให้ร่ำรวย เป็นมหาเศรษฐีของทั้ง 3 ตระกูล ซึ่งผ่านการเคี่ยวกรำบนเส้นทางชีวิตที่คดเคี้ยวยากลำบาก พบพานกับปัญหามากมายแต่เพราะ ความสามารถทำให้พลิกวิกฤติเป็นโอกาส นำพาธุรกิจครอบครัว (กงสี) ให้เติบใหญ่ไพศาลทั้งในและต่างประเทศ ในหลากหลายกิจการในเวทีการค้าโลก ขึ้นมาเป็นยักษ์ใหญ่ในธุรกิจเคียบเคียง วอลมาร์ท ฟอร์ด โตโยต้า พานาโซนิค ซัมซุง ซึ่งล้วนเริ่มต้นพัฒนามาจากธุรกิจครอบครัวทั้งสิ้น

นอกจากนี้ ยังสะท้อนให้เห็นการนำระบบการบริหารจัดการที่ทันสมัย ที่ผสมผสานการบริหารทั้งตะวันตกและตะวันออกมาใช้ดำเนินธุรกิจ อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึง พลวัตแห่งการพัฒนาทางธุรกิจการค้าของชาวไทยเชื้อสายจีน ที่ดำเนินธุรกิจภายใต้ระบอบทุนนิยมแห่งยุคโลกาภิวัตน์

ลงทุนหุ้นปันผล 'สุรเชษฐ์ กมลมงคลสุข'



ผมจะไม่ซื้อหุ้นสุ่มสี่สุ่มห้าผมมองว่า'จังหวะเข้า'สำคัญกว่า 'จังหวะออก' เสมอ! เราต้องดูว่าราคาที่จะเข้าเกินราคาพื้นฐานของหุ้นตัวนั้นหรือยัง
สวัสดีครับ! หุ้น VGI เปิดซื้อขายวันแรก 60 บาทเลยเหรอครับ ช่วงนี้หุ้นไอพีโอร้อนแรงหน้าดู” "ฮง" สุรเชษฐ์ กมลมงคลสุข นักธุรกิจวัย 40 ปี กรรมการผู้จัดการ บมจ.ที.เอ็ม.ซี อุตสาหกรรม (TMC) กล่าวทักทาย กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ด้วยประเด็นฮิตประจำวัน เพราะหุ้น TMC ของเขาก็เป็น "ว่าที่..หุ้นน้องใหม่" ในตลาดหลักทรัพย์ mai ได้ฤกษ์เข้าซื้อขายในวันที่ 26 ตุลาคม 2555 ที่จะถึงนี้

บิซวีค เปรยว่า หุ้น TMC เข้าซื้อขายวันแรก ราคาหุ้นน่าจะไปได้สวย เขาตอบว่า "ผมก็หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น" หุ้นของเขาจำนวน 85 ล้านหุ้น เคาะราคาไอพีโอ 3.90 บาท มีส่วนลดให้กับนักลงทุนผู้จองซื้อ 25% เมื่อเทียบกับ ค่าพี/อี เรโช ของตลาดหลักทรัพย์ mai ในช่วง 3 เดือน เป็นเทคนิคที่ "ที่ปรึกษาทางการเงิน" ทุกรายชอบใช้ในการ "ปั่นกระแส" หุ้นไอพีโอให้ร้อนแรงหลังเข้าตลาดวันแรก

ฮงรำลึกชีวิตวัยเด็กให้ฟังว่า ครอบครัวเป็นคนจีนเป็นลูกชายคนโต เกิดมาก็วิ่งเล่นอยู่ในโรงกลึงชื่อ ทวีมิตรการช่าง” (ทวีมิตร คือ ชื่อบิดา) กับพี่น้อง 4 คน พ่อยึดอาชีพโรงกลึงได้ 2 ปี ก็เปลี่ยนไปทำเครื่องจักรไฮดรอลิกประเภทเครื่องเพรสขนาดเล็ก ระบบ Manual ตอนนั้นเมืองไทยยังไม่มีใครทำ ส่วนใหญ่จะนำเข้ามาขายจากต่างประเทศ พูดพลางโชว์รูปเครื่องจักรสมัยโบราณให้ดู

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

'ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ' วิเคราะห์หุ้น 'รวย'! จากบการเงิน




อยากเล่นหุ้นได้กำไรต้องอ่านงบการเงินให้ 'ขาดกระจุย' ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ เซียนหุ้น VI เจ้าของพอร์ต 'เลข 9หลัก'
ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ เซียนหุ้นวีไอ วัย 44 ปี เป็นที่ร่ำลือว่ามีความสามารถในการ "ถอดงบการเงิน" เป็นเลิศ เขามีข้อได้เปรียบตรงที่ว่าเคยผ่านงานธนาคารต้องวิเคราะห์สินเชื่อลูกค้าว่ามีกำลังผ่อนชำระคืนแบงก์ได้หรือไม่ เขานำประสบการณ์ตรงนั้นบวกกับความรู้ที่ร่ำเรียนมาวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทในอนาคต 3-5 ปีข้างหน้า ความสามารถนี้เองที่ทำให้เขาสร้างผลตอบแทนในตลาดหุ้นได้อย่างงดงาม

เขาเล่าว่า หลังจากค้นพบแนวทางของตัวเอง การเล่นหุ้นก็เริ่มได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ ในอดีตเคยมีประสบการณ์ "ถือหุ้นตัวเดียว" นานถึง 8 ปี คือ หุ้นไว้ท์กรุ๊ป (WG) โดยใช้ซื้อภรรยา (มยุรี วงแก้วเจริญ) ซื้อตอนปี 2544 เหตุผลที่ชอบหุ้นตัวนี้ เพราะมีกระแสเงินสดดี ซื้อหุ้น WG มาในราคา 13-14 บาท ขายไปตอนราคา 60 บาท (ปัจจุบันราคา 81-82 บาท) เพื่อไปซื้อหุ้นตัวอื่นที่คิดว่าดีกว่า เฉพาะเงินปันผลอย่างเดียวก็ "คืนทุน" หมดแล้ว ปีแรกๆ ซื้อราคา 13 บาท ปันผล 1 บาท ซึ่งปันผลของบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกปี จนปีหลังๆ จ่ายปันผลสูงถึงหุ้นละ 4 บาท
นอกจากกระแสเงินสดดีแล้วหุ้นตัวนี้ผลประกอบการเติบโตสม่ำเสมอ เนื่องจากไว้ท์กรุ๊ปมีสูตรเคมีภัณฑ์เฉพาะเป็นของตัวเอง ลูกค้าอยากได้แบบไหนบริษัททำได้หมด ทำให้มีความสามารถในการแข่งขันดีมากเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ที่สำคัญสมัยก่อนบริษัทนี้ ยังมีธุรกิจอื่นเสริมโดยเฉพาะธุรกิจโกดังให้ลูกค้าเช่าเป็นคลังสินค้า และมีสำนักงานให้เช่าแถวเอกมัย ทำให้เขามีกระแสเงินสด และมีมาร์จิ้นที่ดีขึ้น เพราะตึกมันลงทุนไปแล้วสามารถรับรู้รายได้ค่าเช่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธุรกิจทั้งหมดทำให้ไว้ท์กรุ๊ป มีกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ช่วงที่เก็บหุ้น WG บริษัทนี้ยังไม่มีใครรู้จัก
ความแตกต่างจากเซียนหุ้นทั่วไป ฉัตรชัยจะทุ่มเงินลงทุนทั้งหมดในหุ้นที่เขามั่นใจเพียงไม่กี่ตัว เรียกว่า "จัดเต็ม" แบบไม่กลัวเสี่ยง..ถ้าเขามั่นใจ ปัจจุบันเขาถือหุ้นเพียงแค่ 2 ตัว โดยหุ้นตัวแรกถือ 90% ของพอร์ต อีกตัวถือ 10% ของพอร์ต
"ผมลงทุนไม่เหมือนคนอื่นเป็นคนซื้อหุ้นยากมาก ในรอบ 10 กว่าปีมานี้ถือหุ้นไม่กี่ตัว คนอื่นเขาเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาแต่ผมจะถือหุ้นไปจนกว่าจะถึงเกณฑ์ที่ตั้งเอาไว้ ในอดีตเคยถือหุ้นมากที่สุดแค่ 4 หุ้น ผมมันพวก สเปกเยอะถ้ามั่นใจตัวไหนผม จัดเต็มอย่างตอนนี้มีหุ้นอยู่ในมือแค่ 2 ตัว ใครเป็นมาร์เก็ตติ้งผมไม่ค่อยได้ค่าคอมมิชชั่นเท่าไร"
แม้ฉัตรชัยจะไม่ยอมเปิดเผยรายชื่อหุ้นที่ซื้อ แต่จากการตรวจสอบของกรุงเทพธุรกิจ BizWeek พบชื่อ มยุรี วงแก้วเจริญ ภรรยาของ ฉัตรชัย ถือหุ้น ซิงเกอร์ประเทศไทย (SINGER) 6,801,000 หุ้น สัดส่วน 2.52% และหุ้น แมนดารินโฮเต็ล (MANRIN) จำนวน 500,000 หุ้น สัดส่วน 1.86% ปัจจุบันมีมูลค่ารวมประมาณ 130 ล้านบาท
ทำไม! ถึงซื้อหุ้น 2 ตัวนี้ เซียนหุ้นร้อยล้าน บอกเพียงว่า ตัวที่โฟกัส 90% ของพอร์ตอยู่กลุ่ม Commerce บริษัทไม่มีคู่แข่ง ทำธุรกิจสบายๆ ผู้บริหารเก่ง (บุญยง ตันสกุล) ถือหุ้นตัวนี้มานาน 2-3 ปีแล้ว ตอนนี้เขาโตเร็วมาก และยังมีช่องจะเติบโตเพื่อกินมาร์เก็ตแชร์เจ้าอื่นด้วย สมัยก่อนบริษัทนี้เคยผิดพลาดทำให้เขาล้ม ตอนนี้กำลังจะกลับมาบุกตลาดอีกครั้ง จากการวิเคราะห์งบการเงินในช่วง 3 ปีข้างหน้า มั่นใจว่าบริษัทนี้จะขยายตัวสม่ำเสมอทุกปี

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

8 สุดยอดหนังสือ ที่นักลงทุน...ต้องอ่าน


หากคุณผู้อ่านเป็นนักลงทุนอยู่แล้ว..หรือคิดที่จะเริ่มต้นเป็นนักลงทุน คุณผู้อ่านก็ไม่ควรพลาดอ่านหนังสือ 8 เล่ม

ที่บรรดานักวิจารณ์ทั้งไทยเทศหลายท่านได้ให้ความเห็นว่าเป็นหนังสือที่นักลงทุน..ต้องอ่าน โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ
 
หนึ่ง “Security Analysis” (1934)  โดย Benjamin Graham และ David Dodd
 


หนังสือเล่มนี้ถือได้ว่าเป็นหนังสืออมตะของบรรดานักลงทุนทั่วโลก  และยังถือได้ว่าเป็นคัมภีร์ไบเบิลสำหรับวงการนักลงทุน ซึ่งเขียนโดยกูรูการลงทุนทั้งสองท่าน  Benjamin Graham เป็นนักลงทุนและเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ Columbia University และเป็นอาจารย์ของ Warren Buffett ด้วย ส่วน David Dodd ก็เป็นอาจารย์และเพื่อนร่วมงานของ Graham โดยหนังสือได้ให้ความคิดที่ว่านักลงทุนตัวจริงจะต้องมีสัญชาตญาณของ นักสืบมากกว่า นักสถิติหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อช่วยแนะนำแนวทางในการลงทุน หลังจากเกิดมหาวิกฤติเศรษฐกิจของโลกซึ่งมีต้นเหตุมาจากการเก็งกำไรครั้งใหญ่ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก

สอง “The Intelligent Investor” (1949) โดย Benjamin Graham
 



หนังสือเล่มนี้ได้รับการยกย่องจาก วอร์เรน บัฟเฟตต์ ให้เป็นหนังสือที่ดีที่สุดทางด้านการลงทุน และ Benjamin Graham ก็ได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งการลงทุนหนังสือได้แนะนำเทคนิคในการค้นหาราคาหุ้นที่แท้จริง (Intrinsic Value) ของหุ้นนั้นๆ หากราคาหุ้นตกลงมาต่ำกว่าราคาหุ้นที่แท้จริงอย่างมีนัยสำคัญแล้ว ก็จะเป็นโอกาสอันงามของนักลงทุนที่จะเข้าไปเก็บหุ้นดังกล่าว 
 

Panic



นักลงทุนที่อยู่ในตลาดหุ้นมานานสิ่งหนึ่ง ที่เขาจะต้องพบคือ ตลาดหุ้นเกิด "Panic" ซึ่งถ้าแปลตรงตัว คือ ตลาดหุ้นเกิดอาการ "ตกใจกลัว"
หรือ "อกสั่นขวัญหาย" เป็นอาการที่ราคาหุ้นทั้งตลาด หรือหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรม หรือหุ้นตัวใดตัวหนึ่งตกลงมาอย่างหนักในระยะเวลาอันสั้น เช่น ภายในวันเดียวดัชนีตลาดหุ้นตกลงมาถึง 5% หรือถึง 10% และทำให้ตลาดหุ้นต้องพักการซื้อขายเพื่อให้คน "หายตกใจ" และมีเวลาพินิจพิจารณาว่าราคาหุ้นนั้นเหมาะสมกับมูลค่าที่แท้จริงหรือไม่ และนักลงทุนควรที่จะขายหรือจะซื้อ โดยอิงจากเหตุผลไม่ใช่อารมณ์ที่เกิดจากจิตวิทยาหมู่
 
Panic ของตลาดหุ้นทุกครั้งนั้น แม้ในระยะสั้นๆ สิ่งที่เหมือนกันคือ ดัชนีตลาดหุ้นตกลงมาอย่างแรงและรวดเร็ว แต่สาเหตุมักจะแตกต่างกันออกไป  และที่สำคัญคือ การปรับตัวของดัชนีหลังจากนั้น อาจจะแตกต่างกันมาก   
 
ลองมาดูธรรมชาติของ Panic แต่ละแบบว่าเป็นอย่างไร การเรียนรู้นี้จะช่วยทำให้เราสามารถเอาตัวรอด "หนีตาย" ได้ทัน หรือไม่ก็อาจจะทำกำไรได้งดงามอย่างไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะกรณีที่ราคาหุ้นปรับตัวกลับขึ้นไปอย่างรวดเร็วหลังจากนั้น
 
Panic แบบแรกคือสิ่งที่เรียกว่า "Panic เก๊" นี่คือ Panic ที่เกิดจากสาเหตุ หรือเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานของการดำเนินงานของตลาด หรือผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน พูดอีกทางหนึ่งคือ ไม่ได้กระทบกับเศรษฐกิจ หรือกระทบน้อยมาก แต่อาจเกี่ยวกับเรื่องการเมืองการปกครอง ซึ่งอาจรวมถึงความวิตกเรื่องสงคราม หรือความรุนแรงทางสังคมที่ทำให้คน "ตกใจ" และอาจจะ "จินตนาการ" ไปไกล และเทขายหุ้นโดยไม่คิดถึงพื้นฐานที่แท้จริงของกิจการและตลาดหุ้นโดยรวม   
 
จริงอยู่ นักลงทุนส่วนหนึ่ง อาจจะเป็นคนส่วนใหญ่ด้วยซ้ำที่อาจจะ "ไม่กลัว" แต่พวกเขาคิดว่า ถ้าคนอื่นกลัวและขายหุ้นอย่างหนัก หุ้นต้องลงแรง ดังนั้น พวกเขาจำเป็นต้องรีบขายหุ้นก่อนเหมือนกัน ผลคือ ตลาดก็ "ถล่ม" กลายเป็น Panic ที่ "เก๊" เมื่อหุ้นตกลงไปมากพอ คนที่มีเหตุผลและคนที่หายตกใจแล้วกลับมาซื้อหุ้นที่มีราคาถูก "คุ้มค่า" ส่งผลให้ราคาหุ้นวิ่งกลับอย่างรวดเร็ว บางทีสูงกว่าตอนก่อน Panic ด้วยซ้ำ
 
ตัวอย่างของ Panic เก๊ มีมากมาย บางทีมากกว่า Panic จริงด้วยซ้ำ เช่น ในอเมริกา เวลาประธานาธิบดีตาย หรืออาจป่วยรุนแรงเป็นตายเท่ากัน ราคาหุ้นจะดิ่งเป็น Panic แต่ทุกครั้งจะปรับตัวกลับรวดเร็ว เพราะเรื่องแบบนี้เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจน้อย ตัวอย่างเช่น ตอนที่ประธานาธิบดีเคนเนดี้ถูกลอบยิงเสียชีวิต ดัชนีหุ้นตกลงไปถึง 3% ในวันเดียว แต่พอวันรุ่งขึ้น ดัชนีกลับปรับขึ้น 4.5% หลังจากนั้นหุ้นวิ่งต่อ   
 

การกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง (Diversification)




สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล ประเมินว่า ประชากรไทยในปัจจุบันมีโอกาสที่จะมีอายุยืนยาวขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยปัจจุบันประชากรไทยมีอายุขัยเฉลี่ยที่ 73 ปี และคาดว่าอีก 10 ปีข้างหน้าจะมีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 80 ปี
       
       คำถามที่ตามมาก็คือ บุคคลที่อยู่ในช่วงวัยใกล้เกษียณคือ 50 ปีขึ้นไปซึ่งมักจะฝากเงินและลงทุนในพันธบัตรกับตราสารหนี้อย่างเดียวนั้น ต่อไปนี้จะลงทุนอย่างไรภายใต้ภาวะดอกเบี้ยต่ำอย่างทุกวันนี้ เพื่อให้เงินงอกเงยเพียงพอกับการใช้จ่ายในอนาคต และจะทำอย่างไรอำนาจของเงินที่สะสมไว้ใช้ในวัยเกษียณแล้วถึงจะไม่ถูกลิดรอนด้วยภาวะเงินเฟ้อ เพราะหากจะทำแบบเดิมคือฝากเงินและลงทุนในพันธบัตรกับตราสารหนี้เท่านั้น อัตราดอกเบี้ยก็มีทีท่าว่าจะอยู่ในระดับต่ำไปอีกยาวนาน และยังจะพบกับภาวะเงินเฟ้อซึ่งเป็นผลมาจากการอัดฉีดเงินของธนาคารกลางต่างๆ เข้าไปในระบบ (QE) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเพราะการรับประกันเงินฝากเต็มจำนวนจะลดเหลือแค่ 1 ล้านบาท ในช่วงปลายปี 2559 อีกด้วย
       
       การกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง (Portfolio Diversification) และเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้นคือคำตอบ นั่นคือควรแบ่งเงินลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ บ้าง แทนที่จะฝากเงินและลงทุนในตราสารหนี้กับพันธบัตรเพียงกลุ่มเดียว
       
       แล้วจะให้พิจารณาแบ่งเงินไปลงทุนในอะไร ?
  
       คำตอบแรกคือ หุ้นเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่น่าพิจารณาลงทุนเอาไว้บ้าง 
       
       เพราะแม้จะมีความผันผวนไม่แน่นอนในระยะสั้นจากผลกระทบของปัญหาในยุโรปและสหรัฐอเมริกา แต่หุ้นไทยยังคงมีแนวโน้มที่ดีตามภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากการบริโภคในประเทศที่ยังเติบโตได้ดีเ นื่องจากภาครัฐมีการใช้จ่ายและจะมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ รวมถึงรายได้ขั้นต่ำที่จะเพิ่มขึ้นซึ่งจะทำให้มีกำลังซื้อมากขึ้น นอกจากนี้ การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ก็จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาวจากการรวมกัน ทั้งในแง่ของการลงทุน การบริโภค และการเดินทางของ 10 ประเทศที่มีประชากรรวมกันกว่า 590 ล้านคน และมี GDP รวมกันราว 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งการเกิด Asean Trading Link ก็จะเชื่อมโยงตลาดทุนในอาเซียนเข้าด้วยกัน
       
      ที่ระบุข้างต้นทั้งหมดนั้น จะเป็นปัจจัยเชิงบวกที่ช่วยผลักดันการเติบโตของตลาดทุนหรือหุ้นในระยะยาว
       
       นอกจากหุ้นแล้ว เรายังมีทองคำเป็นคำตอบที่สองให้พิจารณาแบ่งเงินไปลงทุน 
       
       การลงทุนในทองคำนั้น นอกจากจะช่วยรักษาอำนาจซื้อหรือทำให้สู้กับเงินเฟ้อได้แล้ว ยังเปรียบได้กับการลงทุนในสกุลเงินหนึ่งซึ่งมีผลผลิตจำกัด โดยทองคำจะได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของสกุลเงินหลักต่างๆ จากภาวะสงครามค่าเงินในปัจจุบันที่ธนาคารกลางต่างๆ พยายามอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกดดันค่าเงินของตนให้อ่อนลงเพื่อประโยชน์ในการส่งออก
       
       ควรกระจายการลงทุนไปในสินค้าเกษตรหรือน้ำมันด้วยหรือไม่ ?
      

NAV สูง กองทุนแพงจริงหรือ??


          หลายครั้งมักได้ยินคำปฏิเสธการลงทุนว่า ไม่กล้าซื้อกองทุนเพราะ NAV มันขึ้นมาสูงมากแล้ว เพราะเข้าใจว่าราคา NAV ก็เหมือนราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อขึ้นมามากๆ ก็สูงเกินกว่าราคาพื้นฐานไปแล้ว และราคา NAV ก็ไม่มีนักวิเคราะห์คอยบอกเหมือนราคาหุ้นเสียด้วยว่า ราคาสูงหรือต่ำกว่าราคาปัจจัยพื้นฐาน

       
       ในข้อเท็จจริง ราคาหุ้นและราคา NAV แตกต่างกันอย่างชัดเจน ราคาหุ้นในตลาดฯ คือราคาของกิจการ ที่แสดงผ่านพฤติกรรมการซื้อขายของนักลงทุนในตลาดหุ้น ส่วนราคาหุ้นที่ให้โดยนักวิเคราะห์ นักลงทุน ก็เพื่อบอกว่าหุ้นนั้นราคาในกระดานสมเหตุสมผล แพงไป หรือถูกไป การจะประเมินว่าราคานี้เหมาะสมหรือไม่ สูงหรือต่ำไปของนักวิเคราะห์ ก็จะประเมินดูจากความสามารถและโอกาสแสวงหากำไรของกิจการในอนาคต ดูจากกำลังการผลิต ยอดขาย การบริหารค่าใช้จ่าย ฯลฯ ในขณะนั้นๆ หรือในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ซึ่งก็มีข้อจำกัด เช่น เมื่อโรงงานทำการผลิตเต็มกำลังแล้ว ยอดขายจะเพิ่มขึ้นได้ก็ต้องลงทุน ขยายโรงงานเพิ่มเสียก่อน เป็นต้น ดังนั้นราคาหุ้นแต่ละตัว จึงมีราคาเหมาะสมของมัน แต่ราคาที่เหมาะสมของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันได้
       
       ขณะที่ราคา NAV คือราคาของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมของกองทุนหารด้วยจำนวนหน่วย กำหนดเป็นราคา NAV ต่อหน่วย หรือเรียกกันย่อๆ ว่าราคา NAV โดยการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิก็จะใช้ราคาตลาด ณ ปัจจุบัน ของทรัพย์สินหรือตราสารที่กองทุนลงทุนอยู่ในการคำนวณ จะมียกเว้นบ้าง เช่นกรณีราคาตราสารหนี้ที่ใกล้ครบอายุ หรือกรณีตราสารหนี้ที่ราคาตลาดไม่ค่อยเคลื่อนไหว ก็ให้ใช้ราคาล่าสุด หรือราคาอื่นใดที่ยอมรับให้ใช้ได้
       
       ยกตัวอย่างกองทุนหุ้นแบบคร่าวๆ กองทุนหุ้นจะมีหุ้นหลายๆ ตัวอยู่ในพอร์ต ก็จะมีการคำนวณมูลค่าหุ้นที่กองทุนถืออยู่ทุกตัว โดยใช้ราคาตลาดของหุ้นทุกตัวตอนสิ้นวันคูณด้วยจำนวนหุ้นที่มี รวมกับมูลค่าตราสารหนี้ เงินฝาก รายได้ค้างรับ เงินสด ฯลฯ ที่อยู่ในพอร์ต ณ สิ้นวัน ลบด้วยหนี้สิน เช่น ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายต่างๆ แล้วหารด้วยจำนวนหน่วยลงทุนในวันนั้นแล้วประกาศออกมาเป็นราคา NAV
       
       แม้จะใช้ราคาตลาดของหุ้นในการคำนวณเหมือนกัน แต่อย่าลืมว่าผู้จัดการกองทุนสามารถซื้อขาย เปลี่ยนแปลงหุ้นในพอร์ตได้เรื่อยๆ เมื่อเห็นว่าหุ้นตัวใดมีมูลค่าสูงเกินไป เขาก็ขายออกแล้วเปลี่ยนถือหุ้นตัวใหม่ มูลค่า NAV ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จึงไม่ได้บอกว่าราคา NAV แพงเกินไป แต่เป็นตัวเลขที่มาจากการสะสมผลกำไรของกองทุนตั้งแต่จัดตั้งกองทุน แสดงถึงผลประกอบการในอดีต เช่น กองทุนบัวหลวงหุ้นระยะยาว ที่มีราคา NAV วันที่ 12 ตุลาคม 2555 เท่ากับ 29.8144 บาท หรือ กองทุนบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ ที่มี NAV ในวันเดียวกันเท่ากับ 69.9358 บาท เป็นต้น
       
       และสำหรับความคิดว่ากองทุนที่ NAV ราคาต่ำกว่า หรือราคาเปิด IPO ที่ 10 บาท ดีกว่ากองทุนที่ราคา NAV สูงๆ เพราะลงทุนแล้วจะได้จำนวนหน่วยลงทุนที่มากกว่าก็เป็นความเข้าใจผิดเช่นกัน เพราะการจะบอกว่าใครดีกว่าแย่กว่า เป็นเรื่องของผลประกอบการในอนาคต จำนวนหน่วยลงทุนที่ได้รับน้อยกว่าไม่ได้หมายถึงกำไรที่จะได้น้อยกว่าแต่อย่างใด
       
       หากกองทุนที่เลือกมีนโยบายการลงทุนเหมือนๆ กัน ไม่ว่าราคา NAV วันที่ซื้อจะเป็นเท่าใด กำไรขาดทุนที่ผู้ลงทุนจะได้รับ ก็จะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ไม่เชื่อ ลองดูตารางเปรียบเทียบผลประกอบการจากการลงทุนในกลุ่มที่มีนโยบายการลงทุนใกล้เคียงกันของกองทุนบัวหลวง ปี 2555 ตั้งแต่ต้นปีถึง 12 ตุลาคม 55 เป็นตัวอย่าง โดยสมมุติว่ามีการลงทุนในวันที่ 30 ธ.ค. 54 จำนวน 100,000 บาท



คอลัมน์บัวหลวง Money Tips
โดยเสกสรร โตวิวัฒน์
บลจ.บัวหลวง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 ตุลาคม 2555
bit.ly/RjAWyp

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

หุ้น “เติบโต” หรือ “ติดดิน”


หุ้น “เติบโต” หรือ “ติดดิน” - วิธีวิเคราะห์ Growth Stock แบบหลายมิติ
โดย: Road to Billion

หุ้นที่มีกำไรเติบโต (Growth Stock) นับว่าเป็นหุ้นที่ทำกำไรให้กับนักลงทุนดีที่สุดประเภทนึง เพราะหุ้นกลุ่มนี้นอกจากจะมีกำไรที่เติบโตขึ้นรวดเร็วแล้ว ตลาดมักจะให้ราคาหุ้นประเภทนี้สูงกว่าตลาดด้วย อย่างไรก็ตาม ก็ใช่ว่าทุก Growth Stock จะดีเหมือนกันทุกบริษัท หลายบริษัทที่ตอนแรกๆอาจจะดูเหมือนเป็น “หุ้นเติบโต” แต่พอเวลาผ่านไปกลับกลายเป็น “หุ้นติดดิน”

คำถามที่นักลงทุนทุกคนควรจะต้องถามคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Growth Stock ตัวไหนจะสามารถเติบโต “ได้จริง” อย่างมีคุณภาพ

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจถึงประเภทของการเติบโตก่อน ผมขอจับไว้เป็นคู่ๆเพื่อให้เข้าใจง่ายแล้วกันครับ

Volume Growth vs. Price Growth

ในบางธุรกิจที่มีอำนาจในการต่อรองราคาของบริษัทต่อลูกค้าสูง (High Negotiating Power) จะสามารถปรับราคาสินค้าขึ้นได้ทุกปี ตัวอย่างเช่นกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาล ร้านสะดวกซื้อ การเติบโตจากการเพิ่มขึ้นของ “ราคา” สามารถทำได้ง่ายกว่าการเติบโตของ “ปริมาณการขาย” มากเพราะแทบจะไม่มีต้นทุนเพ่ิมขึ้นเลย ในขณะที่การขยายกำลังการผลิตหรือการให้บริการต้องมีการลงทุนเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีความเสี่ยงในการที่จะต้องหาลูกค้าเพิ่มขึ้นเพื่อมาซื้อสินค้่า