วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

หลักที่คนไม่ทำตาม



วอร์เรน บัฟเฟตต์เคยพูดหลักการของเขาไว้ว่า "มีคนเอาไปกล่าวอ้างมากมาย แต่น้อยคนที่จะทำตาม" คงเป็นเรื่องดูดี ดูเท่
สำหรับคนที่อ้างคำพูดของบัฟเฟตต์ แต่ลึกๆ แล้ว เขาคงไม่เชื่อหลักการของบัฟเฟตต์ จะทำกำไรได้ดีเท่ากับแนวคิดและวิธีการของเขาเอง เขาอาจเชื่อสิ่งที่บัฟเฟตต์ทำ ว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับบัฟเฟตต์ หรือเป็นสิ่งที่ดีในตลาดหุ้นอย่างตลาดหุ้นนิวยอร์ค หรืออาจเป็นสิ่งที่ดีสำหรับนักลงทุนบางคน ที่มีเงินมากมหาศาลอย่างบัฟเฟตต์ แต่ไม่ใช่สำหรับเขาที่มีพอร์ตเล็กนิดเดียว หรือในตลาดหุ้นไทยที่บริษัทส่วนมากเป็นบริษัทขนาดเล็ก และถ้าเป็นบริษัทใหญ่คุณภาพไม่โดดเด่นเหมือนอย่างในอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร เขาก็ไม่ทำตามสิ่งที่บัฟเฟตต์สอนในหลายเรื่อง
ว่าที่จริงในหลายหลักการที่บัฟเฟตต์พูดถึง เขากลับทำตรงกันข้าม ข้ออ้างของเขา คือ วิธีการลงทุนที่ดีที่สุด คือวิธีที่ถูกกับ "จริต" หรือสไตล์ หรือความชำนาญของตัวเอง "อย่าไปตีกอล์ฟตามวงของไทเกอร์วู้ด แต่ตีตามวงสวิงเหมาะกับร่างกายหรือความสามารถของตนเอง" เขาอาจพูดแบบนี้ ผมคงไม่ไปวิพากษ์วิจารณ์ว่านั่นเป็นความคิดถูกหรือไม่ แต่อยากจะลองลิสต์ดูรายการที่ VI ไทยจำนวนไม่น้อยคิดและทำที่ดูเหมือนจะไม่ใช่แนวคิดของบัฟเฟตต์เลย

เรื่องแรกคือบัฟเฟตต์บอกว่า การซื้อหุ้นของบริษัทดีเยี่ยมในราคายุติธรรม ดีกว่าการซื้อหุ้นของบริษัทธรรมดาราคาถูกมาก แต่ VI น้อยคนที่จะซื้อหุ้นของบริษัทดีมาก เพราะเขามักคิดว่า "แพง" เสมอ เมื่อเทียบกับอีกบริษัทหนึ่ง ที่กำลังมองอยู่ที่มีราคา "ถูกมาก" หลายคนอาจคิดหรือบอกว่า เขาคิดว่าการซื้อบริษัทที่ดีมาก บางทีอาจให้ผลตอบแทนที่ใช้ได้อยู่ แต่เมื่อเทียบกับบริษัทที่ "ถูกมาก" แล้ว ก็ให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่า ขณะที่ความเสี่ยงที่ราคาจะตกลงมามากกว่าเพราะราคา"สูง" สำหรับเขาแล้ว การซื้อบริษัทระดับรองลงมา ที่มีราคาหุ้นต่ำกว่ามากจึงคุ้มค่ากว่า

เรื่องที่สองคือ ระยะเวลาลงทุนในหุ้นแต่ละตัว เรื่องนี้บัฟเฟตต์พูดไว้มากในหลายๆ โอกาส เริ่มตั้งแต่การโค้ดคำพูดของ ฟิลิปส์ ฟิสเชอร์ ที่ว่า ถ้าคุณซื้อหุ้นดีเยี่ยมในราคายุติธรรมได้แล้ว เวลาจะขายหุ้นคือ "ไม่มีวันขาย" หรือถือตลอดไป หรืออีกครั้งหนึ่งบัฟเฟตต์ได้พูดถึงพฤติกรรมการซื้อขายหุ้นของคนในตลาดหลักทรัพย์ว่านานมาแล้ว เซอร์ไอแซ็ค นิวตัน ได้ค้นพบทฤษฎีของการเคลื่อนไหวของวัตถุสามข้อซึ่งเป็นงานของอัจฉริยะ แต่ความเป็นอัจฉริยะของเขานั้นไม่ได้ส่งมาถึงเรื่องการลงทุน เขาขาดทุนอย่างหนักจากเหตุการณ์ฟองสบู่เซ้าธ์ซี ซึ่งทำให้เขาออกมาพูดว่าผมสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของดวงดาวแต่ไม่สามารถวัดความบ้าคลั่งของมนุษย์ถ้าเซอร์ไอแซ็คนิวตันไม่ชอกช้ำจากการสูญเสียครั้งนั้นเกินไป เขาคงสามารถค้นพบกฎข้อที่สี่ของการเคลื่อนไหวนั่นคือ สำหรับนักลงทุนโดยรวมแล้ว ผลตอบแทนจะลดลงเมื่อการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น’ ”

“เสี่ยปู่” “ชม” หุ้นความงาม “สวยทั้งคู่”



เสี่ยปู่สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล ปันใจบอก วันใดค่า P/E สองหุ้นความงาม คาร์มาร์ท” VS “บิวตี้ คอมมูนิตี้ลงมาเท่ากัน พร้อมซื้อหุ้น BEAUTY

หุ้น คาร์มาร์ท (KAMART) ของ วิวัฒน์ ทีฆคีรีกุลผู้ถือหุ้นใหญ่ 138.11 ล้านหุ้น คิดเป็น 23.02% ณ วันที่ 27 พ.ย.2555 เคยเป็น หุ้นความงาม ตัวเดียวที่ เสี่ยปู่สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล เจ้าของพอร์ตหลักพันล้าน โครตรักเขาถือหุ้น KAMART สูงสุดเป็นอันดับ 2 จำนวน 24.570 ล้านหุ้น คิดเป็น 4.10% ขณะที่ภรรยา วารุณี ชลคดีดำรงกุล ครอบครองหุ้นอยู่ 6.27 ล้านบาท คิดเป็น 1.05% (ตัวเลข ณ วันที่ 27 พ.ย.2555) รองจากหุ้น บ้านร็อคการ์เด้น (BROCK) ที่ถืออยู่ 89.30 ล้านหุ้น คิดเป็น 8.93% (ณ วันที่ 2 มี.ค.2555)

เจ้าของห้อง VIP หมายเลข 129 ประจำโบรกเกอร์เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ชั้น 20 อาคารสำนักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เคยถือหุ้น KAMART สูงสุด 5.24% ในปี 2555 ตลอดปีที่ผ่านมามีการซื้อขายทั้งหมด 5 รายการ แบ่งเป็นซื้อ 0.10% วันที่ 25 ก.ค. ก่อนจะขายทำกำไร 0.62% ในวันที่ 30 ก.ค. และกลับมาซื้อ 0.50% ในวันที่ 14 ส.ค.ก่อนจะขาย 0.17% วันที่ 24 ต.ค. และกลับมาช้อนอีกครั้ง 0.25% ในวันที่ 5 พ.ย.2555

แต่เมื่อปลายปี 2555 “เสี่ยปู่ยืดอกยอมรับว่าได้ ปันใจ ไป หลงรักหุ้นความงามตัวใหม่ อย่าง บิวตี้ คอมมูนิตี้ (BEAUTY) ของ หมอสุวิน ไกรภูเบศผู้มีประวัติชีวิตดั่งเช่นละคร ด้วยเหตุผลที่ว่า บิวตี้ คอมมูนิตี้ มีกำไรสูง เงินสดเยอะ หนี้น้อย และไม่ใช่สินค้าแฟชั่น

ก่อนจะปฎิบัติการณ์สลัดหุ้น BEAUTY จำนวน 500,000 หุ้น ราคา 19 บาท ในวันแรก เสี่ยปู่เคยบอกกับ "กรุงเทพธุรกิจ Biz Week" ว่า เดี๋ยวจะโทรไปนัดแนะ หมอสุวินให้ออกมานั่งดินเนอร์แบบ เอ็กซ์คลูซีฟ นอกสถานที่ เพื่อสอบถามอนาคตของ บิวตี้ คอมมูนิตี้ประเด็นหนึ่งที่ เสี่ยปู่ยอมรับว่าอาจทำให้ราคาหุ้น BEAUTY ไม่ไปต่อ คือ คุณหมอจะต่อยอดธุรกิจอย่างไร เมื่อเปิดร้านแบรนด์ บิวตี้ บุฟเฟ่ต์ และแบรนด์ บิวตี้ คอทเทจ ครบทุกห้างในเมืองไทยแม้จะได้คำตอบเป็นที่น่าพอใจ แต่เสี่ยปู่ก็อดใจไม่ไหว จำต้องขายยกแผงวันแรก โกยกำไรเข้ากระเป๋าเหนาะๆ 5,500,000 บาท !!!!

ผมโทรไปชวนคุณหมอออกมาคุย ณ ร้านอาหารแห่งหนึ่ง (ไม่ยอมบอกชื่อร้าน) แม้จะใช้เวลาสอบถามโน่นนี่เพียง 1 ชั่วโมง แต่ผมก็รับรู้ได้ว่าบริษัทความงามแห่งนี้ มีการบริหารจัดการที่ดี เขามีหน้าร้านเป็นของตัวเอง นั่นแปลว่า เมื่อมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น เขาจะเป็นคนที่สบายตัวที่สุดเมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง คาร์มาร์ทที่ทุกวันนี้ยังต้องอาศัยพื้นที่คนอื่นขายของ” “เสี่ยปู่สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล เล่าให้ กรุงเทพธุรกิจ Biz Week” ฟังชัดๆอีกครั้ง

เซียนหุ้นรายใหญ่ ยังวิเคราะห์ 2 หุ้นความงามให้ฟังว่า หากมองเนื้อในของหุ้น BEAUTY ถือว่ามี ข้อดี มากกว่าหุ้น KAMART ข้อแรก เขาสามารถนำสินค้า 2 แบรนด์หลัก ไปเปิดขายได้ถึง 2 ร้าน เรียกว่าแยกกลุ่มเป้าหมายชัดเจน ไม่เหมือนเจ้าอื่นที่ต้องนำสินค้ามากองรวมกันแล้วเปิดได้เพียง 1 ร้าน สินค้าติดตลาดแล้วใครก็อ้าแขนรับ เขามีผลิตภัณฑ์หลากหลายราคา ล่าสุดยังมีแผนจะนำสินค้าไปขายในเซเว่น อีเลฟเว่น ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีมาก เขาคงเห็น คาร์มาร์ททำแล้วรุ่ง (หัวเราะ)


เปิดใจ เอ็มดีใหญ่ณ บ้านแสนสิริ” “เสี่ยนิด” “เศรษฐา ทวีสิน” “ราคาหุ้นต่ำ-พื้นฐานเลิศใช้เงินซื้อหุ้น SIRI มากกว่า 100 ล้านบาท ก็ "สู้ไหว

เหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปลายปี 2554 ยังไม่ทันคลี่คลาย ศักราชใหม่ (2555) ยังไม่ทันเปิด “เสี่ยนิดเศรษฐา ทวีสิน เอ็มดีใหญ่ แสนสิริ” (SIRI) ก็ถลกขากางเกง ตะลุยน้ำทยอยหาจังหวะเก็บหุ้น SIRI และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (SIRI-W1) ไล่มาตั้งแต่ราคา ต่ำสุดของวอร์แรนต์ 1.06 บาท และ 1.82 บาท สำหรับหุ้นสามัญ จุดสูงสุดของวอร์แรนต์ 2.71 บาท และ 3.56 บาท ของหุ้นสามัญ

การสร้างกราฟหุ้น SIRI ตลอดปีมังกร ปฏิเสธไม่ได้ว่า เสี่ยนิดทำเพื่อรอรับข่าวดีที่ มั่นใจว่าต้องเกิดขึ้นภายในสิ้นปี 2555 และการที่ราคาหุ้น SIRI “พุ่งกระฉูดจาก 1.23 บาท (ต่ำสุด) มาอยู่ 3.62 บาท (สูงสุด) ไม่ได้ทำให้เอ็มดีใหญ่

 ร่ำรวยเพียงคนเดียว แต่ยังเผื่อแผ่ถึง แฟนคลับอีกด้วย โดยเฉพาะ เซียนหุ้น VI” “มี่ทิวา ชินธาดาพงศ์ เจ้าของพอร์ตหุ้นระดับ ร้อยล้าน

ผ่านมาแค่ 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค.2555) “มี่โกยกำไรจากตลาดหุ้นไปแล้ว 80% ทะลุเป้าหมาย 20-30% หุ้น SIRI และหุ้น SIRI-W1 คือ พระเอกที่ทำให้เขา กระเป๋าตุง

ปี 2555 ผมควักเงินซื้อหุ้น SIRI และ SIRI-W1 ไปแล้วกว่า 100 ล้านบาท” “เศรษฐา ทวีสินพูดด้วยสีหน้าและน้ำเสียงจริงจังกับ กรุงเทพธุรกิจ Biz Week” หลังงานแถลงข่าวแผนธุรกิจปี 2556 ณ โรงแรม เดอะเซนต์ รีจิส สิ้นสุดลง

ถ้าไม่ดีคงไม่ซื้อ บริษัทของเราทำงานอยู่ทุกวันย่อมรู้ดีว่ามีความแข็งแกร่งและมั่นคงมากขนาดไหน การไล่ซื้อหุ้นของผม ถือเป็นการบ่งบอกนักลงทุนทางอ้อมว่า ชายชื่อ เศรษฐาจะนั่งทำงานที่นี่ต่อไป ไม่หนีไปทำอย่างอื่นเหมือนที่ใครเขาลือกัน


เขา ตอบคำถาม จะซื้อหุ้น SIRI ต่อหรือไม่ว่า ทำไมจะไม่ซื้อราคาต่ำ พื้นฐาน ดีขนาดนี้ ช่วงนี้ผมกำลังรอดูจังหวะราคา คิดตามนะในเมื่อรอบปี 2555 SIRI ทำผลการดำเนินงานได้ดี ไม่ทำให้ผมผิดหวัง ตัวเลขการเงินเกือบทุกตัว ทุบสถิติครั้งใหม่นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทในปี 2527

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

กลยุทธ์การลงทุน


แม้ตลาดหุ้นไทยไม่สามารถยืนอยู่เหนือ 1,400 จุด แต่การที่ดัชนีปิด ณ วันทำการสุดท้ายของปีที่ 1,391.93 จุดหรือเพิ่มขึ้นถึง 35.75% ทำให้ตลาดหุ้นไทยเป็นหนึ่งในตลาดหุ้นที่สร้างผลตอบแทนสูงสุดในโลกทีเดียว สำหรับปี 2556 นั้น คุณกิตติรัตน์ ณ ระนองในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล ยังกล่าวถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงปี 2556-2558 ว่าจะเกิดภาวะ “Domino Growth” โดยจีดีพีจะเติบโต 5-8.5% ต่อปีผ่านมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การกระตุ้นการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะเกิดขึ้นด้วย
              คำพูดดังกล่าว ไม่น่าจะเป็น “white lies” หรือคำพูดเพื่อทำให้ผู้ฟังรู้สึกดี เพราะแม้จะมีอุปสรรคความท้าทายอยู่บ้าง แต่ยังมีปัจจัยบวกที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตต่อเนื่องและส่งผลดีต่อการลงทุนในตลาดทุน ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนจากหลายสำนัก ต่างออกมาคาดการณ์ถึงแนวโน้มที่ดีต่อเนื่องและกำหนดเป้าหมายดัชนีตลาดของปี 2556 ไว้สูงพอควรเช่นกัน
              การคาดหวังผลตอบแทนดีเช่นปีที่ผ่านมา เป็นการตั้งความหวังที่สูงเกินไปเพราะราคาหุ้นได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในทางตรงข้าม นักลงทุนต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น วิธีที่ควรพิจารณานำมาใช้คือ การกำหนดกลยุทธ์การลงทุนและการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพราะการมีวินัยและลงทุนตามกรอบแนวคิดที่ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ จะช่วยให้กระบวนการตัดสินใจดีขึ้นและไม่ไขว้เขวจากภาวะอารมณ์และความผันผวนของตลาดหุ้น ลองมาดูตัวอย่างกลยุทธ์การลงทุนอย่างง่ายๆ ดังนี้
            หนึ่ง กลุ่มที่จะต้องเผชิญความท้าทาย เช่น หุ้นกลุ่มสิ่งทอ กลุ่มแฟชั่น กลุ่มเครื่องหนัง เนื่องจากโอกาสเติบโตทางธุรกิจมีค่อนข้างจำกัด ศักยภาพการแข่งขันเริ่มลดลง ได้รับผลกระทบจากค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศอย่างมีนัยสำคัญ อำนาจในการต่อรองต่ำทั้งการขึ้นราคาสินค้าและการลดต้นทุนการผลิต ไม่สามารถสร้างความแตกต่างและสร้างความภักดีต่อสินค้าและบริการส่งผลให้สูญเสียส่วนแบ่งการตลาดอย่างต่อเนื่อง
         หุ้นกลุ่มนี้ แม้รายได้อาจจะเติบโต แต่ผลกำไรจะต้องได้รับผลกระทบทางลบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นักลงทุนไม่ควรคาดหวังกำไรจากส่วนต่างของราคามากนัก แต่น่าจะได้รับเงินปันผลในอัตราที่ใกล้เคียงหรือต่ำกว่าเดิมเล็กน้อย
               สอง กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งจากการบริโภคและการลงทุนของภาครัฐและเอกชน เช่น หุ้นรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้ประโยชน์จากโครงการเมกกะโปรเจ็ค สาธารณูปโภค ระบบขนส่งมวลชน นี่คือโอกาสเติบโตของรายได้อย่างก้าวกระโดด อย่างไรก็ตาม ผู้ชนะการประมูลแต่ละโครงการนั้นจะต้องเสนอราคาต่ำที่สุด ต้องบริหารต้นทุนทั้งราคาวัตถุดิบ ค่าขนส่ง ค่าพลังงาน ค่าแรงและการขาดแคลน ตลอดอายุสัญญาโครงการ หากต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าที่ประมาณการไว้ก่อนหน้าจะส่งผลกระทบต่อผลกำไรและราคาหุ้นในที่สุด

หุ้นตัวเรา



หุ้นกับคน มีอะไรเหมือนกันอยู่มาก ที่จริงบริษัทก็คือองค์กร ที่ประกอบไปด้วยคนหลายคนมารวมกันเพื่อทำธุรกิจ บริษัทเล็กอาจมีคนไม่กี่คน
บริษัทเล็กที่สุดอาจจะมีเพียงคนเดียว และคนคนหนึ่ง อาจจะเหมือนกับบริษัทเล็กที่สุดที่ "ดำเนินธุรกิจ" และมีรายได้ และมีค่าใช้จ่าย บริษัทที่มีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย ก็คือบริษัทที่มีกำไร ซึ่งในที่สุดก็จ่ายปันผลที่เป็นเงินสด ให้กับเจ้าของหรือผู้ถือหุ้น คนที่มีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายที่ "จำเป็น" ในชีวิตประจำวันก็จะมีเงินเหลือ ซึ่งอาจจะถือว่าเป็น "กำไร" ที่ในที่สุดเจ้าตัวก็เอาไปใช้จ่ายอย่างอื่นได้ เหมือนกับ"ปันผล" ให้ตัวเอง ดังนั้นบริษัทหรือคนก็เหมือนกันตรงที่ต่างก็สามารถสร้างเงินสดให้กับเจ้าของได้เรื่อยๆ
บริษัทหรือหุ้นที่มีกำไร และจ่ายปันผลได้สม่ำเสมอต่อเนื่องยาวนาน และเพิ่มหรือโตขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นหุ้นที่ดีเติบโตและจะมีคุณค่ามาก เราสามารถคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงได้ เช่น ถ้ากำไรปีละ 1 บาทต่อหุ้น เราอาจบอกว่ามีค่าหุ้นละ 25 บาท หรือเรียกว่ามีค่า PE 25 เท่า ถ้าคนๆ หนึ่ง มีรายได้หลังหักค่ากินอยู่ และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีวิตแล้ว เขามีเงินเหลือปีละหนึ่งแสนบาท เราอาจตีว่าคนๆ นี้มีมูลค่าคิดเป็นเงิน 2.5 ล้านบาท ถ้าเราให้ค่า PE เขาเท่ากับ 25 เท่า แต่มูลค่านี้ไม่สามารถซื้อขายได้ เพราะคนไม่สามารถซื้อขายได้ คนที่เป็นเจ้าของคนๆ นี้ ก็คือตัวเขาเอง และไม่สามารถเอาไปขายให้ใครได้
ความจริงที่ว่า ตัวเราเหมือนกับทรัพย์สินที่สร้างรายได้ และที่จริงสามารถคำนวณได้ว่ามีค่าเท่าไร ทำให้คิดว่าการวางแผนทางการเงินที่นักวิชาการ หรือนักวางแผนทางการเงินกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เหตุผลเพราะว่าเราทุกคนจะมี "หุ้น" อีกตัวหนึ่ง ที่ติดอยู่กับตัวเราเสมอ และขายไม่ได้ หุ้นตัวนี้อาจมีค่ามากเมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่น หรือทรัพย์สินอย่างอื่น อาจมีค่าคิดเป็นเม็ดเงิน หรือความมั่งคั่งมากมหาศาล หรืออาจมีค่าไม่มาก เมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่น เราอาจจะไม่รู้ เพราะไม่เคยคิดถึงเลย
บางทีเราอาจไม่ตระหนักว่ามีอยู่ หรือแม้แต่ว่าเรารู้แล้วว่าเรามี "หุ้นตัวเรา" อยู่ เพราะเราอ่านบทความนี้ แต่ก็เป็นหุ้นที่ไม่มีราคาซื้อขาย สิ่งที่เราต้องทำก็คือ ลองคิดว่ามูลค่า "หุ้นตัวเรา" เท่ากับเท่าไร แล้วเราจะทำอะไรกับมัน เราจะ"จัดพอร์ต" หุ้นตัวอื่นหรือทรัพย์สินอื่นอย่างไร?