วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ลงทุนอย่างสบายใจ


การลงทุนในหุ้นนั้น  หลาย ๆ  คนมักจะรู้สึกเครียดและมีกังวลอยู่ตลอดเวลา  เขากลัวว่าจะมีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดในประเทศไทยหรือในโลกนี้ซึ่งจะทำให้หุ้นตกทั้งตลาดและทำให้หุ้นเขาตกลงไปด้วย   เขากังวลว่าหุ้นตัวที่เขาถืออยู่อาจจะมีปัญหาหรือมีเหตุการณ์ไม่ดีซึ่งทำให้หุ้นตกลงมาอย่างหนักและทำให้เขาขาดทุนมากมายอย่าง ไม่คาดฝัน”  การลงทุนในหุ้นดูเหมือนว่าจะมี ต้นทุน”  ที่ไม่ใช่ตัวเงินแฝงอยู่นั่นก็คือ  ความกังวลและความไม่สบายใจ  และนั่นอาจจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราซื้อ ๆ  ขาย ๆ  หุ้นบ่อยเพื่อ  “ลดความไม่สบายใจ”  ในสถานการณ์ที่  “ไม่แน่นอน”  แต่นี่มักจะทำให้ผลตอบแทนการลงทุนของเราลดลงในระยะยาว   คำถามก็คือ   จะทำอย่างไรถึงจะทำให้เราสามารถลงทุนอย่างสบายใจได้?

สูตรการลงทุนอย่างสบายใจของผมก็คือ  ข้อแรก  จงตั้งความหวังผลตอบแทนระยะยาวจากการลงทุนในหุ้นให้เหมาะสมนั่นก็คือ  ผลตอบแทนทบต้นต่อปีเฉลี่ยประมาณ 10%    ถ้าเราคิดว่าเรามีความสามารถสูงมาก  ก็อาจจะตั้งความหวังได้สูงขึ้น  แต่สูงสุดไม่ควรเกิน 15% ต่อปี   โดยคำว่าระยะยาวของผมนั้นจะต้องยาวไม่ต่ำกว่า 10 ปีขึ้นไป   การตั้งความหวังที่เหมาะสมนั้นจะทำให้เรามีโอกาสบรรลุผลได้ไม่ยากเกินไปซึ่งจะทำให้เราไม่ต้อง  “เร่ง”  ผลตอบแทนโดยวิธีการต่าง ๆ  ที่มีความเสี่ยงสูง   เช่น  ไม่ต้องเล่น  “หุ้นร้อน”  หรือ  ไม่ต้องใช้มาร์จินในการซื้อขายหุ้น เป็นต้น   ซึ่งทำให้เราสามารถลงทุนหุ้นได้แบบ  “ชิว ๆ

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Fundamental กับ Technical อะไรดีกว่ากัน "พ่อรวย"มีคำตอบ


การถกเถียงกันระหว่างการใช้ปัจจัยพื้นฐาน และความรู้ทางด้านเทคนิคเป็นสิ่งที่โต้แย้งกันมานานมากๆ ว่าสิ่งใดจะสามารถทำเงินได้มากกว่าสิ่งใด พ่อรวยบอกอยู่เสมอว่าในช่วงตลาดขาขึ้น นักลงทุนที่กล้าเสี่ยงสูง มักจะสามารถทำเงินได้อย่างมากมายโดยใช้ปัจจัยทางด้านเทคนิคเข้ามาช่วย และทำเงินได้มากกว่าคนที่ใช้ปัจจัยทางพื้นฐาน ที่คอยแต่สอดส่อง ใจไม่กล้า และขี้ขลาดเกินไป เขาเหล่านั้นจะไม่ได้อะไรเลย..... ในทางกลับกัน ในช่วงที่ตลาดขาลง ปัจจัยทางพื้นฐานเป็นสิ่งที่สำคัญมาก มันเปรียบเสมือนร่มชูชีพ ที่คอยผ่อนแรงให้กับนักลงทุน ไม่ให้กระแทกลงกับพื้นเร็วและแรงมากจนเกินไป นักเทคนิคหลายคนเล่นหุ้นที่ไร้พื้นฐานก็เหมือนกับการกระโดดจากที่สูงโดยไม่ใช้ร่มชูชีพ เมื่อตลาดกลับมาสู่สภาวะปกติ นักลงทุนที่อารมณ์แปรปรวนเหล่านั้นจะกลับมาคิดได้ว่า ตัวนี้ยังมีพื้นฐานรองรับอยู่ หรือที่เรียกกันว่า สภาวะที่กำลังสร่างเมานั้นเองมันเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย มีนักลงทุนจำนวนมาก ทำเงินได้อย่างมหาศาลในช่วงตลาดขาขึ้น และเขาก็คิดว่า ตัวเขาเองคือผู้อัจฉริยะในตลาดหุ้น แต่มันก็เป็นความอัจฉริยะเพียงชั่วคราว เขาจะเริ่มประมาท และสุดท้ายก็ต้องเจ็บหนักในตลาดขาลง นักลงทุนที่ชาญฉลาดจริงๆจะสามารถอยู่ได้ทั้งในตลาดขาขึ้นและขาลง

พ่อรวยสรุปให้ผมฟังว่า ระหว่างที่เราอยู่ในตลาดหุ้นก็เหมือนโดดลงมาจากที่สูง เราจำเป็นต้องใช้ปัจจัยทางเทคนิคเพื่อดูแนวโน้ม ดูทิศทางลม และความสูงของเพดานบิน การดูปัจจัยพื้นฐานก็เหมือนติดร่มชูชีพไว้กับตัว มันเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผลเลยถ้าเราจะกระโดดลงมาโดยไม่ใช้ร่มชูชีพ ดูแต่ทิศทางลมยังเดียว หรือพกร่มชูชีพแต่ไม่ได้ดูทิศทางลม ความสามารถทั้งสองจำเป็นที่จะต้องไปด้วยกัน มันจะมีประโยชน์มากในอนาคต ถ้าลูกชำนาญทั้งสองอย่าง !!!

- Robert Kiyosaki
บทความจาก S2M  http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=29078

จาก"วินมอเตอร์ไซค์"สู่เซียนหุ้น VI'ทิวา ชินธาดาพงศ์'

เปิดตัว 'เซียนหุ้น VI''สิงห์มอเตอร์ไซค์รับจ้าง' จบการศึกษาแค่ ม.3 เคยล้มเหลวมาแล้วหลายอาชีพ วันนี้ผันตัวเองสู่เจ้าของพอร์ตหุ้นตัวเลข 9 หลัก


น้ำแข็งเกิดจากน้ำ แต่แข็งกว่าน้ำ ผู้ที่รู้ตัวว่าชีวิตเกิดมาต้องต่อสู้ดิ้นรน จึงหมั่นฝึกฝนตนเองให้เข้มแข็ง "มี่" ทิวา ชินธาดาพงศ์ เด็กหนุ่มที่ "ใจถึงจนถึงใจ" เขาไม่ได้เกิดมาบนกองเงินกองทองและชีวิตเต็มไปด้วยโอกาสเหมือนกับใครหลายๆ คน

ชายหนุ่มอารมณ์ดีวัย 30 กว่ามองย้อนกลับไปในชีวิตเบื้องหลังความสำเร็จ วันแห่งความลำบากยากแค้นผุดขึ้นเป็นฉากๆ ตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้นวลีนี้อาจต้องถูกลบทิ้งไป คนเดินดิน กินข้าวแกง (ข้างถนน) อย่างเขา ใครจะเชื่อว่าวันนี้จะ "ร่ำรวย" เป็นเจ้าของพอร์ตหุ้น "ตัวเลข 9 หลัก"
ครอบครัวชินธาดาพงศ์ เข้าข่ายเป็นชนชั้น "รากหญ้า" ของสังคมเมืองหลวงที่ชีวิตต้องปากกัดตีนถีบ แม่ยึดอาชีพขายบะหมี่ป๊อกๆ หาเช้ากินค่ำ ส่วนพ่อทำงานบริษัทเอกชนทั่วไป หลังจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนพร้อมพรรณวิทยา ย่านถนนประชาสงเคราะห์ ทิวาตัดสินใจไม่เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เหมือนเพื่อนๆ ส่วนใหญ่
เขาคลุกตัวอยู่ในสมุดประชาชนย่านซอยรางน้ำ อ่านหนังสือ "ฮาวทู" ที่สอนเกี่ยวกับ "วิธีคิด" หนา 250 หน้าเล่มหนึ่งจนจบ ชีวิตเด็กหนุ่มมีกำลังใจขึ้นราวปาฏิหาริย์ พร้อมทั้งตั้งปณิธานแน่วแน่กับตัวเองว่า "ชีวิตนี้กูต้องรวยให้ได้"

อาชีพแรกของเด็กหนุ่มเริ่มจากอาชีพขับ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง" เพื่อนสนิทมาชักชวนโดยบอกว่า "เงินดีมาก" ได้เดือนละ 30,000 บาท เขาจึงฝันต่อว่าถ้าได้เดือนละ 30,000 บาท ปีหนึ่งก็ 360,000 บาท กูรวยแน่เพราะในชีวิตอย่าว่าแต่เงินหมื่นเงินแสนเลย แค่เงินหลักพันยังแทบไม่เคยได้จับ

ช่วงนั้นแม่ของทิวากลุ้มใจมากที่ลูกจบแค่ชั้น ม.3 ไม่ยอมเรียนต่อ ทุกคนในบ้านมองไม่เห็นอนาคตของเขาที่ไม่เป็นโล้เป็นพาย ขณะที่น้องสาวและน้องชายเรียนหนังสือเก่งทั้งสองคน ขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างได้ไม่กี่เดือนก็ต้องเลิกเพราะพ่อแม่ซึ่งมาจากครอบครัวคนจีนอับอายเพื่อนบ้านที่ลูกชายคนโต "ไม่เอาถ่าน"
ทุกอย่างในชีวิตเหมือน "ฝันสลาย" พ่อตัดสินใจส่ง มี่ในวัย 14 ย่าง 15 ปี ไปเรียนภาษาจีนกลาง ณ โรงเรียนกวางโจวตั๋วหวี่เหวี่ยนเหว่นฮั่ง เมืองกวางโจว ประเทศจีน เป็นเวลา 2 ปี โดยให้ไปอาศัยอยู่กับพี่ชายต่างมารดาของพ่อที่ไปปักหลักใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองจีนกับภรรยาและลูก 2 คน หวังให้ลูกชายได้ภาษาจีนและกลับมายึดอาชีพเป็น "ไกด์นำเที่ยว" ที่เมืองไทย การเดินทางไปกวางโจว ประเทศจีนได้เปลี่ยนชีวิตของทิวาจากหน้ามือเป็นหลังมือ เขาไปใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น 2 ปีครึ่ง

"หลังกลับมาจากเมืองจีน ผมก็ไปทำอาชีพไกด์นำเที่ยวสมใจคุณพ่อ แต่ทำได้แค่ 1 เดือน ก็ตัดสินใจลาออก เพราะรู้สึกไม่ใช่ทางของเรา ต้องตื่นมาทำอะไรซ้ำซาก ไปในที่เดิมๆ พูดเหมือนกันทุกวันน่าเบื่อมาก"

หลังจากนั้นก็ไปทำอาชีพเซลส์แมนขายเครื่องเสียงตามร้านคาราโอะ ทำได้ 1-2 สัปดาห์ ก็ลาออกอีก ระหว่างนั้นได้ไปอ่านหนัง How to เล่มหนึ่ง เขาพูดถึงวิธีการทำอย่างไรจึงจะ รวยหนึ่งในนั้นเขาแนะนำให้ไปทำอาชีพ "ขายตรง" หรือ "ขายประกัน"

อ่านจบก็รีบไปสมัครเป็นพนักงานขายประกันชีวิต "เอไอเอ" ทันที ทำได้ 2 ปี ลาออกอีกรู้สึกว่าต้องไปง้อให้คนมาซื้อประกัน..มันขายยาก แต่ชีวิตก็ยังวนเวียนอยู่ในอาชีพเซลส์ "ลงแรง ไม่ต้องลงทุน" คราวนี้ไปเป็นพนักงานขายรถยนต์ยี่ห้อ "มิตซูบิชิ" แถวสามย่าน ไม่มีเงินเดือนมีแต่ค่าคอมมิชชั่นถ้าขายรถได้
ช่วงนั้นคิดว่าจะยึดอาชีพนี้ไปเรื่อยๆ ทุกวันที่ไปทำงานเขาจะทะเยอทะยานมองหัวหน้างานแล้วบอกตัวเองว่า ทำงานอีก 10 ปี ก็จะได้ไปยืนตำแหน่งเดียวกับเขา มีเงินเดือนกิน 30,000 บาท บวกค่าคอมเข้าไปอีกเกือบ 50,000 บาท สุดท้ายทำไปทำมาก็รู้สึกว่างานนี้ไม่ใช่ทางของเราอีก

หุ้นหลายเด้ง!

The X Bagger Stocks : หุ้นหลายเด้ง !!

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านนี้ผมสังเกตได้อย่างชัดเจนว่ากระแสของกลยุทธ์ทำกำไรจากหุ้นหลายๆเด้งนั้นดูจะเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ในบทความนี้เราจะมาดูสถิติของมันในตลาดหุ้นไทยดีกว่าว่ามันเป็นอย่างไรกันบ้างครับ

หุ้นหลายเด้ง
ความจริงแล้วเรื่องราวของกลยุทธ์การทำกำไรจากการเล่นหุ้นด้วยการถือหุ้นจนมันวิ่งขึ้นไปหลายๆเด้งนั้นเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงกันมานานมากแล้ว และบุคคลสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นผู้ที่ทำให้เกิดความนิยมและการยอมรับขึ้นมาในวงกว้างก็คงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก Peter Lynch อดีตผู้จัดการกองทุน Magellan Fund ในตำนาน โดยเขาได้เขียนแนวคิดเกี่ยวกับการเล่นหุ้นหลายเด้งในบทของการล่าหุ้น 10 เด้งไว้ในหนังสือ One Up On Wall Street ของเขานั่นเอง (ใครยังไม่เคยอ่านก็ไปหาอ่านเสียนะครับ ไม่งั้นจะเสียชาติเกิดที่เคยเล่นหุ้น ฮาา) หนังสือเล่มนี้ได้ถูกตีพิมพ์ออกมาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1989 และในเวลาต่อมาไม่นานนัก คนทั้งโลกก็ได้กล่าวขานและพยายามที่จะเลียนแบบความสำเร็จจากการเลือกหุ้น 10 เด้งของเขากันอยู่เรื่อยมา


สำหรับในเมืองไทยนั้น กระแสหุ้น 10 เด้งค่อยๆเป็นที่รู้จักขึ้นมาตั้งแต่เมื่อวิธีการเล่นหุ้นในเชิง Value Investing ได้กลายมาเป็นกระแสหลักของคอหุ้นในบ้านเรา จนในปีหลังๆมานี้ก็ได้มีคนที่แจ้งเกิดจนโด่งดังจากการเล่นหุ้นสไตล์นี้กันอยู่หลายคนเลยทีเดียว (แต่เข้าใจว่าที่ดับไปก็มีหลายคนเหมือนกัน เนื่องจากรอเท่าไหร่มันก็เด้งลงเรื่อยๆ อิอิ)
คำถามที่ผมคิดว่าน่าสนใจก็คือ หุ้นหลายๆเด้งแบบนี้มันเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหนในตลาดหุ้นไทย เพราะนั่นน่าจะหมายถึงความอยู่รอดของกลยุทธ์การล่าหุ้นแบบนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว และวันนี้ผมก็ได้ลองไขข้อสงสัยมาให้อ่านกันครับ

นิยามของหุ้นหลายเด้ง
เพื่อที่จะทำการขุดคุ้ยหาความจริงของเรื่องนี้นั้น คงจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ผมจะไม่นิยามถึงความหมายของมันให้ชัดเจนเสียก่อน สำหรับความหมายของหุ้นหลายเด้งที่ผมจะนำมาใช้เพื่อทดสอบหาสถิติของมันออกมานั้นก็เป็นดังนี้ครับ

1. เพื่อความเที่ยงธรรมในการวัดหุ้น “X” เด้งออกมานั้น ผมได้เลือกใช้ ZigZag Indicator ที่ 25% ในการจับเอาจุดต่ำสุด-สูงสุดของหุ้นในแต่ละรอบการเคลื่อนไหวออกมา โดยผมใช้ค่าการเปลี่ยนแปลงที่ 25% ก็เพื่อที่มันจะได้กรองเอาการกระเพื่อมเล็กๆน้อยๆถึงปานกลางทิ้งไปเสีย และเหลือไว้ให้เห็นแต่จุดกลับตัวของหุ้นที่มีนัยยะสำคัญเท่านั้น
2. เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ เราจะวัดการเคลื่อนไหวจากจุดต่ำสุดและสูงสุดของรอบโดยนับจากราคา ปิดในวันวกกลับตัวเท่านั้น
3. ผมได้ทำการตัดหุ้น “X” เด้งที่มี Holding Period น้อยกว่า 20 วันทิ้งไปจากการเก็บสถิติเนื่องจากมันมักจะเกิดจาก 2 สาเหตุหลักๆคือ ฐานข้อมูลของผมไม่ได้ถูกปรับราคา มันจึงเกิดการกระโดดของข้อมูลโดยไม่ได้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง และอีกสาเหตุหนึ่งก็คือหุ้นถูกหยุดการซื้อขาย แล้วก็กระโดดมาเปิดอีกราคาหนึ่งหลังจากหยุดซื้อขายไปเป็นปีๆ (แต่ในโปรแกรมจะนับจากจำนวน Bar)
4. เราจะทำการนับว่าหุ้นนั้นเกิดเป็นกี่เด้งเมื่อได้เกิดการวกกลับของ ZigZag เรียบร้อยแล้วและมันจะถูกคอนเฟิรม์ด้วยการเปลี่ยนค่าของ “X Bagger” Indicator ที่ผมสร้างขึ้นมาอีกที
5. สถิที่เกิดขึ้นนี้เป็นสถิติโดยประมาณเท่านั้น อาจคลาดเคลื่อนไปบ้างเล็กน้อยจากความไม่สมบูรณ์บางส่วนที่ผมมีอยู่

ภาพนี้จะแสดงให้เห็นตัวอย่างของหุ้นที่ให้ผลตอบแทน 10 เด้งนับจากจุดต่ำสุดถึงจุดสูงสุดด้วยราคาปิด

หุ้น STA 25.63 เด้ง



วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การลงทุนแบบ VI

Getset MoneyTherapy:
เพื่อนผมForward email ฉบับหนึ่งมาให้ เป็นข้อคิดสำหรับการลงทุนที่ดี ต้องให้เครดิตคุณ invisible hand นะครับที่แชร์ความรู้นี้ครับ

การลงทุนแบบ VI นั้น
ไม่ได้หมายความว่าจะต้องซื้อหุ้นที่ดูเหมือนเป็นหุ้น VI ตามที่เค้าแนะนำมาตามแหล่งต่างๆ
ดังนั้นจะต้องแยกให้ออกว่าเราจะเป็น VI หรือ จะซื้อหุ้น VI ซึ่งอย่างหลังนั้นไม่ยากเพราะสามารถสอบถามจาก web ต่างๆ ที่เกี่ยวกับ VI แต่การที่จะเป็น VI คือสามารถเลือกหาหุ้นที่มีคุณภาพสูงในราคาไม่แพงเกินไปนักเป็นสิ่งที่ยากกว่ามาก ดังนั้นขึ้นอยู่กับว่าเราพร้อมจะทำหรือไม่นะครับ
หากต้องการเป็น VI ผมมีคำแนะนั้นต้นให้ได้ครับ




1 หาหนังสือแนว VI มาอ่าน ตอนนี้มีการแปลหลายเล่มมาก เช่น
- หนังสือต่างๆ ที่เขียนโดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เช่น ตีแตก ชนะอย่างเต่า ฯลฯ มีขายตามร้านหนังสือทั่วไปครับ เช่น SE-ED
- หนังสือแปลจากต่างประเทศเช่น
- The new Buffetology ผู้แปล คือ คุณพรชัย
- One up on wallstreet ผู้แปล คือ ดร. นิเวศน์
- Common stocks uncommon profit ผู้แปล คือ ดร. นิเวศน์

2 จะต้องอ่านหนังสือพิมพ์ธุรกิจอย่างน้อยวันละ 1 เล่ม ถ้าให้ดีควรจะอย่างน้อย 2 และหนังสือพิมพ์ธุรกิจราย 3 วัน 7 วัน เช่น ประชาชาติธุรกิจหรือฐานเศรษฐกิจ หรือ Biz Week อย่างน้อย 1 เล่ม เป็นขั้นต่ำ ถ้าให้ดีควรอ่านทุกเล่มเลยครับ

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เซียนหุ้นอัจฉริยะ 'สถาพร งามเรืองพงศ์'

อายุเพียง 25 ปี 'ฮง' เด็กหนุ่มที่พ่อแม่ค้าเสื้อยืดย่านพระราม 2 เล่นหุ้นตั้งแต่เรียนปี 1 'ม.กรุงเทพ' ปั่นเงินจาก 'หลักแสน' เพิ่มเป็น 'หลายสิบล้าน' ภายใน 7 ปี..ฝันอีก 'สิบปี' พอร์ตแตะ 300 ล้านบาท


"ฮง" สถาพร งามเรืองพงศ์ ชื่อนี้แทบไม่เป็นที่รู้จักในวงการตลาดหุ้น แต่ถ้าเอ่ยนามแฝง "ฮงแวลู" (Hongvalue) เซียนหุ้น "วัยรุ่น" รายนี้เป็นที่รู้จักอย่างดีในเว็บบอร์ด Thaivi.com ที่วันนี้เริ่มอัพเกรดตัวเองไปเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องหุ้นให้กับนักลงทุนกลุ่มเล็กๆ หลังชีวิตการลงทุนตลอด 7 ปีประสบความสำเร็จอย่างงดงามมีพอร์ตลงทุน "หลายสิบล้านบาท"

ตี๋หนุ่มวัยเพียง 25 ปีรายนี้เลือกเดินในอาชีพ "นักเล่นหุ้น" อย่างแน่วแน่ และกำลัง "ป็อปปูล่า" วัดความดังได้จากงานสัมมนาเล็กๆ ที่ฮงและก๊วนเพื่อนร่วมกันแชร์ประสบการณ์ในช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจ (ซับไพร์ม) ปี 2551 ที่เขาได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนสูงถึง 10 เท่าตัวหากรู้จักเลือกลงทุนหุ้นพื้นฐาน เปิดให้จองที่นั่งเข้าฟังบรรยายเพียงไม่กี่ชั่วโมงมีนักลงทุนรายเล็กรายใหญ่ แห่จองกันเต็ม 230 ที่นั่ง

หลังจบงานสัมมนามีคนตามทวิตเตอร์ของ Hongvalue เพิ่มขึ้นกว่า 100 คน เขายกตัวอย่างหุ้นที่เคยทำเงินเข้ากระเป๋าได้อย่าง “มหาศาล” ในช่วงหลังวิกฤติปี 2551 นั่นคือ หุ้นเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) และหุ้นโพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) (PTL) รวมถึงหุ้นอีกหลายตัวที่ทะยานขึ้นอย่างมาก

ตี๋หนุ่มคุยว่าพอร์ตลงทุนของตัวเองเติบโตก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่ปีมานี้ และเริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวง Value Investor มากขึ้นหลังสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นประมาณ 20 เท่า ภายในระยะเวลา 2 ปี ขณะเดียวกันถ้าวัดตั้งแต่เริ่มลงทุนปี 2547-2553 ภายในระยะเวลา 7 ปี พอร์ตลงทุนขยายตัวประมาณ 40-50 เท่า

"ฮง" เซียนหุ้นอัจฉริยะรายนี้เป็นลูกคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งหมด 3 คน เขาเล่าว่า พี่ชายคนโตปัจจุบันอายุ 33 ปีคนนี้ก็เล่นหุ้นเหมือนกันแต่มูลค่าพอร์ตลงทุนยังไม่ใหญ่ประมาณ 3 ล้านบาท พี่ชายจะเน้นดูเทคนิเคิลมากกว่าปัจจัยพื้นฐาน ส่วนพี่สาวคนรองอายุ 29 ปี เรียนจบแพทย์ ปัจจุบันเดินทางไปศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทาง สาขาช่องท้อง ที่สหรัฐอเมริกา

เซียนหุ้น "หาดใหญ่" จาก "ช่างตัดผม" ผันสู่...นักลงทุน "พันล้าน"

เปิดตัว "เสี่ยแตงโม" เซียนหุ้น "หาดใหญ่" จาก "ช่างตัดผม" ผันสู่...นักลงทุน "พันล้าน"


เส้นทางปั้นดินสู่ดาวของ "สมเกียรติ วงศ์คุณทรัพย์" หรือ "เสี่ยแตงโม" กลายเป็นกรณีศึกษาของนักลงทุนรุ่นใหม่ ที่สร้างตัวจากเงิน "8 หมื่น" แม้เขาจะถ่อมตัวว่าเป็นนักลงทุนระดับ "ร้อยล้าน" แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่าเคยซื้อขายหุ้นวันเดียวเกิน "พันล้าน"

"ผมถือคติว่า...น้ำกำลังเชี่ยว อย่าเอาเรือไปขวาง จำไว้เวลาหุ้นขาลง แม้ขายขาดทุนก็ต้องขาย ต้องยอมเสีย Civic ไปหนึ่งคัน...ไม่งั้น Mercedes-Benz คุณหาย!!"

ถ้าโชคชะตาไม่เล่นตลก ชีวิตเด็กหนุ่ม "ช่างตัดผม" จากอำเภอหาดใหญ่ คงไม่ผันตัวสู่ชีวิต "เซียนหุ้นพันล้าน" ที่คนในวงการร่ำลือกันว่า มีลีลาเข้า-ออก "หนักหน่วง" และ "โหด" เอามากๆ

สปอตไลท์ทุกดวงส่องตรงมาที่ชายผู้นี้ "สมเกียรติ วงศ์คุณทรัพย์" หรือ "เสี่ยแตงโม" ทั้งในมุมของ "ผู้ร้าย" และ "ขาใหญ่แห่งทะเลใต้"

เขาเริ่มมีชื่อเสียงในฐานะลูกค้าของ "บล.หยวนต้า" ในยุคที่ "สมโภชน์ อาหุนัย" เป็นกรรมการผู้จัดการ ไปกวาดต้อนคนเก่งๆ มาไว้ในอาณาจักร

ไม่ว่า "สมเกียรติ" จะอยู่ในมุมแดง หรือมุมน้ำเงิน แต่ประสบการณ์ของเขา ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่กาลเวลาจะกลืนหาย เหลือไว้เพียง "ตำนาน" ที่รอวันดับสูญ

นั่นคือเหตุผลที่ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ต้องนำเรื่องราวของเขา มาเล่าสู่กันฟัง

"ผมตามเพื่อนเข้าตลาดหุ้น เมื่อปี 2533 ผมเข้าไปได้ 2 สัปดาห์ ซัดดัมก็บุกคูเวต (2 สิงหาคม 2533) ตอนนั้นเพื่อนซื้ออะไร ผมก็ตาม จำได้แม่นว่าซื้อหุ้นตัวแรก บมจ.ไทย-เยอรมัน เซรามิค อินดัสทรี่ (TGCI) ตอนนั้นราคา 141 บาท

...แล้วอีกตัว คือ บงล.นวธนกิจ (NAVA) ราคาก็ประมาณเดียวกัน พอซื้อปุ๊บราคาก็ขึ้นไป 2 บาท...ก็ขาย ผมซื้อ 141 บาท ขาย 143 บาท หักค่าคอมฯ ยังเหลือนิดหน่อย"

เซียนหุ้นลูกน้ำเค็ม เล่าต่อว่า หลังจากซื้อหุ้นไปได้ 2 สัปดาห์ ซัดดัมก็มา "มันสุดยอด" สมัยนั้นยังใช้วิธีเคาะกระดาน ตื่นเช้าขึ้นมาผมก็เห็น "กากบาท" อยู่ทางซ้ายมือ ราคาอยู่ทางขวามือ ก็แปลว่า "ตกฟลอร์" มีแต่คนขาย ไม่มีคนซื้อ

เงื่อนไขในการเลือกหุ้น

การลงทุนแบบ VI ทั่วไป ถ้ามีการทำการบ้านมามากพอ ผลตอบแทนโดยรวมของพอร์ทในระยะยาวก็น่าจะสามารถชนะตลาดได้ไม่ยากนัก


ปกติผมจะตั้งเป้าหมายในการทำกำไรให้ได้ปีละประมาณ 15% ซึ่งการกำหนดเป้าหมายเอาไว้ก็เพื่อให้เราเกิดความกระตือรือร้นในการค้นหาหุ้น แต่เราก็ไม่ควรที่จะตั้งเป้าหมายให้สูงจนเกินไป เพราะยิ่งกำหนดเป้าหมายไว้สูงมากๆ เช่น กำไรปีละ 50-100% ต่อปี จะทำให้พฤติกรรมในการเลือกหุ้นของเรานั่นเปลี่ยนแปลงไป มีแนวโน้มที่จะเล่นหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงมากขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งผมเองก็เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อยู่บ้างเหมือนกัน โดยเฉพาะเมื่อปี 49 เป็นปีที่ผมทำผลตอบแทนได้สูงมากๆ  ในช่วงต้นปี 50 ก็เลยหวังว่าจะทำได้ในระดับเดียวกัน พอเจอหุ้นที่คิดว่าดีมี PE ต่ำ ก็เลยรีบตะครุบ โดยไม่ได้มองให้ลึกว่าบริษัทมีข้อเสียอื่นๆอยู่หลายอย่าง สุดท้ายก็ต้องมาเจ็บตัว ยังดีที่กลับตัวทันได้ ก็เลยไม่เจ็บตัวมากนัก

ดังนั้น จุดเริ่มต้นในการเลือกหุ้น ที่ผมเห็นว่ามีความสำคัญอันดับแรกก็คือ การที่มีทัศนะคติที่ถูกต้องในการลงทุน โดยการตั้งเป้าหมายผลตอบแทนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ในกรอบเวลาที่เหมาะสม  โดยการกำหนดเป้าหมายก็ควรจะมองในระยะยาว เช่นกำไร 10 – 12% ใน 1 ปี ไม่ใช่หวังกำไร 10% ต่อเดือน เพื่อที่จะเป็นกรอบคิดอย่างหนึ่งในการเลือกหุ้น ไม่ให้เราสุ่มเสี่ยงจนเกินไป และเน้นผลตอบแทนในระยะยาวเป็นหลัก

ในการคัดเลือกหุ้นแต่ละตัว ผมจะเริ่มต้นจากการดูคุณภาพของหุ้นก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงมาดูเรื่องของราคาทีหลัง ถ้าเจอหุ้นที่มีแนวโน้มไม่ค่อยดี กำไรมีทีท่าว่าจะลดลงในระยะยาว อาจจะเนื่องมาจากภาวะอุตสาหกรรมอยู่ในช่วงขาลง หรือ อาจจะเนื่องมาจากบริษัทได้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน เช่น มีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาในธุรกิจ หรือ เกิดการแข่งขันตัดราคาอย่างรุนแรง หุ้นที่คุณภาพต่ำๆแบบนี้ต่อให้เห็นว่าราคาถูกแค่ไหน เช่น PE อาจจะแค่ 2-3 เท่า ผมก็ไม่คิดที่จะซื้อเพราะถ้าบริษัทมีกำไรลดลงไปเรื่อยๆ PE ที่เราเห็นว่าต่ำในปัจจุบันอาจจะเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นหุ้นที่แพงไปเลยก็ได้
สำหรับหุ้นที่ดีนั้นผมคิดว่ามีเงื่อนไขหลักอยู่ 3 ประการ คือ เป็นหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ดี มีความสามารถในการการแข่งขันสูง และสุดท้าย ต้องมีผู้บริหารที่ดี ซึ่งบริษัทที่ผมจะสนใจลงทุนนั้นจะต้องผ่านเงื่อนไข 2 ประการเป็นอย่างน้อย เช่น


“รัชดา ตั้งหะรัฐ” ลงทุนแล้วสำคัญต้องไม่ทุกข์

คีย์เวิร์ดที่สำคัญของการลงทุนของ"รัชดา ตั้งหะรัฐ"คือต้องไม่ทุกข์ ทำไมเธอยึดหลักแบบนั้น คลิกเข้าไปอ่าน



“เงินที่เท่ากัน...แต่ลงทุนต่างกัน...ผลลัพธ์ย่อมต่างกัน” นั่นคือแง่คิดดีๆ จากหญิงเก่งที่มุ่งมั่นอย่าง “รัชดา ตั้งหะรัฐ” ผู้อำนวยการอาวุโส หัวหน้าฝ่ายวางแผนการลงทุน-ส่วนตัวแทนขาย 1 สายงานพัฒนาธุรกิจ บลจ.ยูโอบี (ไทย) เธอคร่ำหวอดในแวดวงตลาดทุนและตั้งใจในการทำตลาดกองทุนรวมให้เติบโตด้วยการให้ความรู้-สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับผู้ลงทุนมาอย่างต่อเนื่อง แล้วส่วนตัวเธอเองลงทุนอย่างไร

 รัชดา บอกว่า สินทรัพย์ที่ลงทุนในพอร์ตจะมี 5 ประเภทหลัก ได้แก่
1) ตราสารหนี้
2) กองทุนอสังหาริมทรัพย์ 
3) หุ้นไทย
4) หุ้นต่างประเทศ
และ 5) สินค้าโภคภัณฑ์

โดยให้น้ำหนักการลงทุนเท่าๆ กันประมาณ 20% ส่วนตัวจัดตราสารหนี้และกองทุนอสังหาริมทรัพย์อยู่ในกลุ่มเดียวกันเพราะเป็นการลงทุนโดยมองผลตอบแทนที่สม่ำเสมอซึ่งสามารถบริหารให้ได้ผลตอบแทนมากหรือน้อยได้เช่นกัน ตัวอย่าง ส่วนตัวต้องการผลตอบแทนรวมของพอร์ตการลงทุนประมาณ 7 - 10% ในส่วนของตราสารหนี้จะเน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุค่อนข้างยาว เช่น 3 ปี ได้ 5% ไปเลย โดยตั้งเป้าไปเลยว่าต้องการผลตอบแทนกี่เปอร์เซ็นต์ อีกส่วนที่เป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์จะเห็นการให้ผลตอบแทนค่าเช่าที่จ่ายมาในรูปของเงินปันผลที่สม่ำเสมออาจจะอยู่ 6 - 7%

ดังนั้นพอร์ตในกลุ่มตราสารหนี้ส่วนใหญ่ก็จะเน้นลงทุนในระยะยาวแบบนี้ เมื่อรวมกับผลตอบแทนจากสินทรัพย์อื่นก็ช่วยให้ผลตอบแทนรวมของพอร์ตใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ได้วางไว้
“เป้าหมาย 7 - 10% ที่ตั้งไว้จะมีผลต่อความมั่งคั่งในระยะยาวของนักลงทุนเอง คนส่วนใหญ่เก็บได้อยู่แล้วแต่นักลงทุนส่วนใหญ่กลับมองการลงทุนสั้นเกินไปทำให้เสียโอกาสในการลงทุนไปเลยก็มี เช่น เน้นลงทุนระยะสั้น 3 เดือน 6 เดือน แล้วรอนำเงินกลับไปลงทุนใหม่ แทนที่จะได้ดอกเบี้ยล็อกยาวก็ไม่ได้

P/E P/BV และ ROE

ถ้าใครได้ลงทุนในแนว VI มานานระดับหนึ่ง หรือได้อ่านหนังสือที่เกี่ยวกับแนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่าทั้งของไทยและของฝรั่ง น่าจะคุ้นเคยกับอัตราส่วน 3 ตัวที่เขียนไว้ที่ชื่อเรื่องในวันนี้…
ยังไงสำหรับคนที่อาจจะยังเป็นมือใหม่ ผมจะขอทบทวนความหมายของอัตราส่วนทั้ง 3 ตัวอีกรอบนะครับ


P/E – ย่อมาจาก Price/Earning per Share ถ้าสมมติว่ากำไรของบริษัทไม่เติบโตเลย P/E จะหมายถึงระยะเวลาคืนทุน เช่น P/E 5 เท่าหมายถึงระยะเวลาลงทุน 5 ปี … P/E นี่ยิ่งต่ำยิ่งดีครับ

P/BV – ย่อมาจาก Price/Book Value ซึ่ง Book Value นี่จริงๆก็คิดมาจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) หารด้วยจำนวนหุ้น … ยิ่งเราซื้อหุ้นได้ต่ำกว่า BV มากเท่าไหร่ (P/BV ต่ำ) ก็หมายความว่าเราสามารถซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีของบริษัท ซึ่งตามตำราทั่วๆไปก็จะบอกว่า P/BV ยิ่งต่ำยิ่งดี ตัวเลขมาตราฐานที่มักจะใช้เป็นฐานก็คือเลข 1 เท่า

ROE – ย่อมาจาก Return on Equity หรือกำไรสุทธิหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นอัตราส่วนที่ Buffett นั้นให้ความสำคัญค่อนข้างมาก ความหมายของ ROE นั้นเป็นตัวที่บ่งบอกว่า เงินที่บริษัทเก็บเอาไว้ทุกบาทนั้น บริษัทสามารถนำไปทำให้งอกเงยได้ในอัตราผลตอบแทนเท่าไหร่ … เพราะฉะนั้น ROE ยิ่งสูงก็ยิ่งดี ตัวเลขมาตราฐานที่มักจะใช้กันคือความสูงกว่า 12 – 15% อย่างต่อเนื่องหลายๆปี
ที่กล่าวไปข้างต้นก็เป็นสิ่งที่หนังสือทั่วๆไปให้ความหมายไว้ แต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงความสัมพันธ์ของ Ratio ทั้ง 3 ตัวนี้ซักเท่าไหร่ .. ผมจะลองผูกสูตรให้ดูกันนะครับ

วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข

การวิเคราะห์หุ้น เราต้องวิเคราะห์ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ มักเริ่มจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณก่อน


นั่นคือ เขาจะดูตัวเลขผลประกอบการและฐานะการเงินของบริษัทว่าเป็นอย่างไร ถ้าดูไม่ดีโดยเฉพาะปีล่าสุด เขาอาจเลิกสนใจไปเลย ถ้าดูดี หรือดีมาก เขาจะศึกษาต่อทางด้านคุณภาพ นั่นก็คือ ดูว่าบริษัทขายอะไร สินค้าโดดเด่นไหม แนวโน้มราคาสินค้า หรือบริการเป็นอย่างไร บริษัทอยู่ในตำแหน่งไหนของอุตสาหกรรม เป็นต้น

แต่สำหรับผม ผมมักจะเริ่มต้นวิเคราะห์เชิงคุณภาพก่อน เริ่มจากการมองด้านการตลาดและต่อเนื่องไปด้านต่างๆ  โดยเฉพาะความได้เปรียบเชิงแข่งขันของกิจการเทียบกับคู่แข่ง เมื่อสนใจแล้ว ผมจึงเริ่มวิเคราะห์ด้านปริมาณ และตัวเลขทางการเงินที่ผมจะดูก่อนเลย ก็คือ ตัวเลขสรุปข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ 4-5 ปี ย้อนหลัง ที่มีอยู่ในเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ set.or.th ของบริษัทจดทะเบียนทุกบริษัท และต่อไปนี้ คือ การแนวการวิเคราะห์ของผม

ตัวเลขตัวแรกที่ผมสนใจมาก ก็คือ กำไรสุทธิ สิ่งที่ผมมอง ก็คือ ตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมา กำไรของบริษัทเป็นอย่างไรบ้าง ถ้ากำไรของบริษัทนั้น "ลุ่มๆ ดอนๆ" นั่นคือ บางปีก็กำไร บางปีก็ขาดทุน แบบนี้อาจบอกได้ว่า กำไรของบริษัท "คาดการณ์ได้ยาก" ดังนั้น อนาคตกำไรของบริษัทคงไม่แน่นอน อาจจะกำไร หรือขาดทุนได้ ลักษณะแบบนี้ผมจะรู้ว่า การหามูลค่าที่แท้จริงทำได้ยากมาก บ่อยครั้งผมมักจะปล่อย "ผ่าน" ไป ถ้ากำไรบริษัทมีความผันผวนพอสมควรทีเดียว แต่ก็ยังกำไรอยู่ทุกปี แบบนี้ผมจะดูว่าปีที่แย่ที่สุดเป็นอย่างไร ถ้าพบว่าปีที่แย่ก็ยังได้กำไรคิดแล้วเท่ากับ 10% ของ Market Cap. หรือของมูลค่าตลาดของหุ้นทั้งหมดในปัจจุบัน แบบนี้ ผมคิดว่าหุ้นของบริษัทอาจยังน่าสนใจ เพราะถ้าในอนาคตกำไรไม่ต่ำกว่านั้น การลงทุนซื้อหุ้นของผมในวันนี้ยังทำผลตอบแทนได้ 10% ต่อปี ซึ่งไม่เลวนัก

กุญแจ 5 ดอก ของการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนที่น่าอ่านสักเล่มหนึ่ง ชื่อเรื่อง กุญแจ 5 ดอกของการลงทุน แบบเน้นคุณค่า แปลมาจากต้นฉบับชื่อ 5 Keys to Value Investing เขียนโดย J. Dennis Jean-Jacques ผู้เรียบเรียงคือ คุณพรชัย รัตนนนทชัยสุข ซึ่งที่ผ่านมา มีผลงานแปลหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนแบบเน้นคุณค่าออกมาหลายเล่มด้วยกัน


J. Dennis Jean-Jacques เคยทำงานเป็นนักวิเคราะห์ของ Fidelity Investments สำนักการลงทุนแห่งเดียวกับเซียนหุ้นบรรลือโลก ปีเตอร์ ลินซ์ (Peter Lynch) ก่อนที่จะย้ายมาทำงานร่วมกับ ไมเคิล ไพรซ์ (Michael Price) ที่กองทุน Mutual Series Fund ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสุดยอดกองทุนแบบเน้นคุณค่าแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ผู้เขียนเริ่มต้นทำงานในตำแหน่งนักวิเคราะห์ของกองทุนแห่งนี้ จากนั้นก็ได้เลื่อนมาเป็นผู้จัดการกองทุน หลังจากที่ ไมเคิล ไพรซ์ ได้เกษียณตัวเองจากการบริหาร
การดำเนินงานของ Mutual Series Fund จะเน้นไปที่การหาหุ้นที่มีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าทรัพย์สินมากๆ หลักการลงทุนของ กองทุนแห่งนี้จะเน้นไปที่การตรวจสอบงบการเงิน โดยเฉพาะตรวจสอบ ‘งบดุล’ เป็นหลัก คล้ายๆกับการลงทุนของต้นตำรับอย่าง เบนจามิน เกรแฮม
ดังที่ ไมเคิล ไพรซ์ กล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า

อย่างแรก ราคาหุ้นของบริษัทจะต้องอยู่ในระดับที่มีส่วนลดจากมูลค่าทรัพย์สิน
อย่างที่สอง ผู้บริหารต้องถือหุ้นของบริษัท ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น
อย่างสุดท้าย งบดุลของบริษัทต้องสะอาดหมดจด มีหนี้สินน้อย ซึ่งนั่นจะชี้ว่า ความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทอยู่ในระดับต่ำ หากคุณดูทั้งสามสิ่งนี้ คุณจะได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจ

นอกเหนือจากนั้น ไมเคิล ไพรซ์ ยังกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างการลงทุนของเขา กับการลงทุนของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ อีกว่า วิธีการไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือแนวคิด ”บัฟเฟตต์จะเด่นในเรื่องการเสาะหาธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน เราไม่เก่งในเรื่องนั้น เราจะมองหาคุณค่า”

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

‘บัฟเฟตต์-โซรอส ลงทุนถูกนิสัย ยังไงก็ชนะ’

เป็นสรุปเนื้อหาจากหนังสือ บัฟเฟตต์-โซรอส ลงทุนถูกนิสัย ยังไงก็ชนะ’
(The Winning Investment Habits of Warren Buffett & George Soros)



หลังจากมีโอกาสได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับ อุปนิสัยการลงทุนของ บัฟเฟตต์-โซรอส ก็เลยอยากเอาความรู้มาแบ่งปันเพื่อนๆสักหน่อย แหะๆ เอาเป็นว่าสรุปย่อๆละกัน
หนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงความแตกต่างของนักลงทุนชั้นเซียน (คุณปู่บัฟเฟตต์กับโซรอส)กับ นักลงทุนขี้แพ้ ว่ามีอุปนิสัยในการลงทุนแตกต่างกันอย่างไร

ในที่นี้ ขอพูดถึงอุปนิสัยของเซียนละกัน เพราะว่าคงไม่มีใครในที่นี้ที่กำลังอ่าน blog นี้อยู่ อยากเป็นนักลงทุนขี้แพ้ แล้วอีกเหตุผลหนึ่งคือ จะได้เป็นแรงบันดาลใจให้เราปรับนิสัยการลงทุนของเราให้ทำตามแบบอย่างเซียนกันด้วยย

เรามาดูกันเลยยว่า อุปนิสัยทั้ง 23 ข้อมีอะไรบ้าง

1.) จงรักษาเงินต้นไว้ให้ได้เสมอ ข้อนี้สำคัญที่สุด สำหรับโซรอสเขากล่าวว่า ‘การขาดทุนไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด ทำให้เขารู้สึกเหมือนเดินถอยหลังกลับไปสู่จุดต่ำสุดของชีวิตอีกครั้ง’

2) มุ่งมั่นที่จะลดความเสี่ยง เป้าหมายของพวกเขา คือ ต้องให้แน่ใจเท่านั้นจึงจะลงทุน เค้าจะไม่ลงทุนในสิ่งที่เขาไม่รู้ ดังคำกล่าวของคุณปู่ที่ว่า “Risk comes from not knowing what you’re doing”

3) สร้างปรัชญาการลงทุนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง ปรัชญาในการลงทุนของบัฟเฟตต์ คือ ประเมินคุณค่าให้ได้ และมองให้ออกว่า กิจการไหนมีลักษณะที่น่าลงทุน รู้ว่าจะซื้อจะขายตอนไหน

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Mega Trend

ในการลงทุนระยะยาว สิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งคือ การรู้ว่าอะไรเป็น Mega Trend หรือแนวโน้มใหญ่ของสิ่งต่างๆ ในโลก



ถ้าพูดถึงการลงทุนในไทยก็คือ แนวโน้มของประเทศไทย ซึ่งแนวโน้มในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นไปในแนวเดียวกับแนวโน้มของโลก ผมเองไม่ได้เป็นคนที่มองเห็น "อนาคต" ดีกว่าคนอื่น แต่ผมชอบสังเกตพฤติกรรมของคนอื่น รวมถึงตนเองว่า เราเคยทำอะไรและทำอย่างไรในอดีต และตอนนี้ทำอะไรแทน ผมก็ศึกษาพฤติกรรมของคนชาติอื่นที่ร่ำรวยกว่าเราว่าเขาทำอะไรมาก่อน  เพราะผมเชื่อว่าในไม่ช้า เมื่อเรารวยเท่าเขา เราก็จะทำเหมือนกับเขา ผลก็คือ ผมก็จะมีไอเดียว่า  Mega Trend ของเรามีอะไรบ้าง และต่อไปนี้ก็คือความคิดของผม

เริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดคือเรื่องของอาหารการกิน ผมคิดว่าคนไทยกินอาหารนอกบ้านมากขึ้นเรื่อยๆ เหตุผลสำคัญ อาหารนอกบ้านวันนี้ไม่ได้ "แพง" เหมือนสมัยก่อน นี่ก็พูดโดยเปรียบเทียบกับเงินเดือนของคนทั่วไป และเทียบกับราคาอาหารที่ทำกินเองที่บ้าน อาหารที่เรากิน ดูเหมือนจะกินในภัตตาคารที่เป็นอาหารต่างชาติค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอาหารญี่ปุ่น หรือฟาสต์ฟู้ดแบบอเมริกัน เทรนด์กินอาหารนอกบ้าน ผมคิดว่าจะเพิ่มขึ้นไปอีกนาน ส่วนร้านอาหารที่เรากิน ก็มีแนวโน้มว่า เราจะเลือกกินจากร้านที่เป็นเชนมากกว่าร้านเดี่ยวๆ ซึ่งมีความเสียเปรียบในหลายๆ ด้าน นอกจากการกินในภัตตาคารแล้ว อาหารกล่องและอาหารถาดทั้งหลาย จะเป็นเมกาเทรนด์ที่มีการบริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุผลเดียว